Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1090
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ในจังหวัดกาฬสินธุ์
Other Titles: Factors related to the outcomes the prevention and control of dengue haemorrhagic fever among sub-district public health personnel in Kalasin province
Authors: สมโภช รติโอฬาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
เยาวภา ปิ่นทุพันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรศักดิ์ หันชัยศรี, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จำแนกระดับผลการดำเนินงานตามมาตรการหลักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ (2) จําแนกระดับผลการบรรลุตามเป้าหมายการดำเนินงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับและควบคุมโรค ตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ (3) หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามมาตรการหลักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (4) หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลบรรลุตามเป้าหมายการดำเนินงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (5) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ศึกษาคือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รวม 156 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับผลการดำเนินงานตามมาตรการหลักของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับ ตำบลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี เป็นสัดส่วนสูงสุดเท่ากับ ร้อยละ 88.50 (2) ระดับการบรรลุตามเป้าหมายการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับดีมาก เป็นสัดส่วนสูงสุดเท่ากับ ร้อยละ 55.13 (3) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อายุราชการ ประสบการณ์ทํางาน ปัจจัยแรงจูงใจ ได้แก่ การได้รับยกย่อง ความรับผิดชอบ โอกาสความเจริญก้าวหน้า และแรงจูงใจรวมทุกด้าน ปัจจัยกระบวนการบริหารจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การควบคุมกํากับงาน และรวมทุกด้าน มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานงานตามมาตรการหลักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value 1,05) (4) ปัจจัยการสนับสนุนการดำเนินงาน ได้แก่ ความทันเวลาของสื่อ ศึกษาและแบบรายงาน ปัจจัยกระบวนการบริหารจัดการ ได้แก่ การวางแผน การควบคุมกํากับงาน มีความสัมพันธ์กับผลการบรรลุตามเป้าหมายการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < (5) (5) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก ได้แก่ ความไม่เพียงพอของบุคลากร ความไม่มีประสิทธิผลของทรายกำจัดลูกน้ำ ความไม่คล่องตัวของงบประมาณความไม่เพียงพอของสื่อสุขศึกษา การร่วมวางแผนกับองค์กรท้องถิ่นในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีน้อย
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1090
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83634.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons