Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10913
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ วนาพิทักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorยสวดี โค้วคาศัย, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-12-19T06:57:06Z-
dc.date.available2023-12-19T06:57:06Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10913-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประกันหนี้ด้วยสิทธิเรียกร้อง หลักประกันทางธุรกิจ การบังคับหลักประกันทางธุรกิจ (2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้อง ตามกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เปรียบเทียบกับกฎหมาย Uniform Commercial Code Article 9 เรื่อง Secured Transaction ในประเทศสหรัฐอเมริกา และกฎหมาย Floating Charge ในประเทศสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ (3) ศึกษาวิเคราะห์ถึงข้อดี ข้อเสีย ตลอดจนสภาพปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้อง ของกฎหมายไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและของประเทศสหราชอาณาจักร (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา และปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้องของไทย ให้สามารถบังคับหลักประกันทางธุรกิจได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้อง ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 กฎหมาย Uniform Commercial Code Article 9 เรื่อง Secured Transaction ของประเทศสหรัฐอเมริกา และกฎหมาย Floating Charge ของประเทศสหราชอาณาจักร จากการสืบค้นแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น จากบทบัญญัติของกฎหมาย ตำรา วารสาร วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ รวมถึงแนวคำพิพากษาหรือการให้ความเห็นทางกฎหมาย เอกสารอิเล็กทรอนิกส์และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยจะทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้อง ให้สามารถบังคับหลักประกันทางธุรกิจได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายหลักทรัพย์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การประกันหนี้ตามกฎหมายไทยเป็นมาตรการที่ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถจัดหาเงินลงทุนมาใช้ในการประกอบธุรกิจได้ การประกันหนี้ของประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งสิทธิเรียกร้องก็เป็นหลักประกันอย่างหนึ่ง (2) ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจ ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยที่ยังสามารถครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นได้ มาตรา 9 ของ UCC ของประเทศอเมริกา จะเน้นกระบวนการในการให้ผู้รับหลักประกันเข้าครอบครองทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตั้งแต่ต้นหรือลูกหนี้ต้องลงนามในหนังสือข้อตกลงว่าด้วยหลักประกัน โดยอาจมีการทำสัญญาตกลงกันไว้ว่าต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบก่อนการยึดทรัพย์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นไปในทางเดียวกันกับพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ของประเทศไทย ส่วนการประกันหนี้แบบ Floating charge ของสหราชอาณาจักร มีกำหนดว่า ต้องทำหนังสือแจ้งไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิทราบการเป็นหลักประกัน (3) Floating charge ของสหราชอาณาจักร มีกำหนดว่า ต้องทำหนังสือแจ้งไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิทราบการเป็นหลักประกัน เป็นข้อดีที่ทำให้ลูกหนี้แห่งสิทธิมีความมั่นใจในการจ่ายเงินแก่บุคคลที่มีสิทธิได้รับตามกฎหมาย (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้แก้ไขบทบัญญัติกฎหมายให้มีการบอกกล่าวไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิ หรือให้ลูกหนี้แห่งสิทธิยินยอม ก่อนหรือขณะมีการจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ และกำหนดเงื่อนไขพื้นฐานที่ควรกำหนดในสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายให้มีผลผูกพันกับลูกหนี้แห่งสิทธิที่อยู่ในสภาวะพักการชำระหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย เพื่อให้ผู้รับหลักประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้รายอื่น ตลอดจนเสนอให้แก้ไขบทบัญญัติกฎหมายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในกรณีเมื่อบังคับหลักประกัน และได้รับชำระหนี้จากสิทธิเรียกร้องที่เป็นหลักประกันแล้ว กำหนดให้หนี้ประธานและหนี้ตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจมีผลระงับ และเห็นควรให้มีการประกาศ หลักเกณฑ์การพิจารณาหลักประกันประเภทสิทธิเรียกร้อง เพื่อเจ้าหนี้หรือนายทุนที่ปล่อยเงินกู้ซึ่งเป็นผู้รับหลักประกันพิจารณาประกอบการรับหลักประกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกฎหมายพาณิชย์--ไทยth_TH
dc.subjectหลักประกันth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจth_TH
dc.titleการบังคับหลักประกันธุรกิจ กรณีสิทธิเรียกร้องตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558th_TH
dc.title.alternativeThe enforcement of business security in the case of the assignment of claim under the Business Security Act B.E. 2558en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this independent study are (1) to study the concepts and theories relating to a debt security especially the assignment of claim over business security and the enforcement of business security (2) to study legal principles relating to enforcing business collateral especially the assignment of claim according to foreign and Thai laws, including the Thai Civil and Commercial Code, the Thai Business Security Act B.E. 2558 and comparing the Thai laws with Secured Transaction under the United States Uniform Commercial Code Article 9 and Floating Charge under the law of United Kingdom. (3) to study and analyze the advantages and disadvantages as well as the legal problems related to enforcing business collateral especially the assignment of claim under Thai laws by comparing with those of the United States and the United Kingdom. (4) to suggest solutions and to revise the law to make the enforcement of business security according to the intent of the law be more rapid and more efficient. This independent study is a juridical research using qualitative research method by studying and collecting all related materials of the assignment of claim under the Business Security Act B.E. 2558, Secured Transaction under the United States Uniform Commercial Code Article 9 and Floating Charge under the law of the United Kingdom. For example, studying and collecting from the provisions of the laws, textbooks, journals, theses, academic articles including judgments or legal opinions, electronic documents and other related documents. In the analysis of research data, the researcher will synthesize and analyze the qualitative data. The analysis was based on the content obtained from research papers and literature reviews in order to be used as a guideline for revising the law to accelerate the enforcement of business security and making it more efficient according to the intent of the law. The results of the study found that (1) A debt security under Thai law is a financial instrument that helps businessmen in procure investments. The principle of debt security in Thailand is influenced by Roman law, in which the assignment of claim is also a security. (2) the Business Security Act B.E. 2558 was introduced to encourage entrepreneurs for easier obtaining funding while still being able to own and utilize the assets as collateral. Article 9 of the UCC of the United States focuses on the procedure of letting the security receiver take possession of the secured property from the beginning or the debtor must sign a letter of collateral agreement. There may be a contract agreed upon that the debtor must be notified before enforcing business collateral. This procedure is in line with the Thai Business Security Act B.E. 2558. The United Kingdom's floating charge requires a written notice of the right of collateral to the debtor. (3) The United Kingdom's floating charge requires giving notice of the right of collateral to the debtor. It is an advantage that the debtor of rights has the confidence to pay off debt to the rightful person. (4) the researcher suggests that the law should be revised. The debtor of the assignment of claimshould be given noticed or should give the consent before or while registering business security. Basic conditions of business security agreement should be provided. The law should be amended to be enforced with the debtor of rights who is in automatic stay after declared bankruptcy. Hence, the security receiver is a secured creditor who has preferential right. Moreover, the law should be more precise on security enforcement. After receiving repayment of debt from the assignment of claim over security collateral, the principal debt and the debt under the business security agreement shall be extinct. In addition, criteria for consideration of the assignment of claim as business collateral should be declared so that the creditor and other capitalists can apply accordinglyen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166860.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons