Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10913
Title: | การบังคับหลักประกันธุรกิจ กรณีสิทธิเรียกร้องตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 |
Other Titles: | Enforcement of business security in the case of the assignment of claim under the Business Security Act B.E. 2558 |
Authors: | วราภรณ์ วนาพิทักษ์ ยสวดี โค้วคาศัย, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายพาณิชย์--ไทย หลักประกัน การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประกันหนี้ด้วยสิทธิเรียกร้อง หลักประกันทางธุรกิจ การบังคับหลักประกันทางธุรกิจ (2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้อง ตามกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เปรียบเทียบกับกฎหมาย Uniform Commercial Code Article 9 เรื่อง Secured Transaction ในประเทศสหรัฐอเมริกา และกฎหมาย Floating Charge ในประเทศสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ (3) ศึกษาวิเคราะห์ถึงข้อดี ข้อเสีย ตลอดจนสภาพปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้อง ของกฎหมายไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและของประเทศสหราชอาณาจักร (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา และปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้องของไทย ให้สามารถบังคับหลักประกันทางธุรกิจได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้อง ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 กฎหมาย Uniform Commercial Code Article 9 เรื่อง Secured Transaction ของประเทศสหรัฐอเมริกา และกฎหมาย Floating Charge ของประเทศสหราชอาณาจักร จากการสืบค้นแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น จากบทบัญญัติของกฎหมาย ตำรา วารสาร วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ รวมถึงแนวคำพิพากษาหรือการให้ความเห็นทางกฎหมาย เอกสารอิเล็กทรอนิกส์และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยจะทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในการบังคับหลักประกันทางธุรกิจ ประเภทสิทธิเรียกร้อง ให้สามารถบังคับหลักประกันทางธุรกิจได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายหลักทรัพย์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การประกันหนี้ตามกฎหมายไทยเป็นมาตรการที่ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถจัดหาเงินลงทุนมาใช้ในการประกอบธุรกิจได้ การประกันหนี้ของประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งสิทธิเรียกร้องก็เป็นหลักประกันอย่างหนึ่ง (2) ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจ ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยที่ยังสามารถครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นได้ มาตรา 9 ของ UCC ของประเทศอเมริกา จะเน้นกระบวนการในการให้ผู้รับหลักประกันเข้าครอบครองทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตั้งแต่ต้นหรือลูกหนี้ต้องลงนามในหนังสือข้อตกลงว่าด้วยหลักประกัน โดยอาจมีการทำสัญญาตกลงกันไว้ว่าต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบก่อนการยึดทรัพย์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นไปในทางเดียวกันกับพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ของประเทศไทย ส่วนการประกันหนี้แบบ Floating charge ของสหราชอาณาจักร มีกำหนดว่า ต้องทำหนังสือแจ้งไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิทราบการเป็นหลักประกัน (3) Floating charge ของสหราชอาณาจักร มีกำหนดว่า ต้องทำหนังสือแจ้งไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิทราบการเป็นหลักประกัน เป็นข้อดีที่ทำให้ลูกหนี้แห่งสิทธิมีความมั่นใจในการจ่ายเงินแก่บุคคลที่มีสิทธิได้รับตามกฎหมาย (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้แก้ไขบทบัญญัติกฎหมายให้มีการบอกกล่าวไปยังลูกหนี้แห่งสิทธิ หรือให้ลูกหนี้แห่งสิทธิยินยอม ก่อนหรือขณะมีการจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ และกำหนดเงื่อนไขพื้นฐานที่ควรกำหนดในสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายให้มีผลผูกพันกับลูกหนี้แห่งสิทธิที่อยู่ในสภาวะพักการชำระหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย เพื่อให้ผู้รับหลักประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มีสิทธิดีกว่าเจ้าหนี้รายอื่น ตลอดจนเสนอให้แก้ไขบทบัญญัติกฎหมายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในกรณีเมื่อบังคับหลักประกัน และได้รับชำระหนี้จากสิทธิเรียกร้องที่เป็นหลักประกันแล้ว กำหนดให้หนี้ประธานและหนี้ตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจมีผลระงับ และเห็นควรให้มีการประกาศ หลักเกณฑ์การพิจารณาหลักประกันประเภทสิทธิเรียกร้อง เพื่อเจ้าหนี้หรือนายทุนที่ปล่อยเงินกู้ซึ่งเป็นผู้รับหลักประกันพิจารณาประกอบการรับหลักประกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10913 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
166860.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License