Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10920
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorราณี อิสิชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorกิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorดำรงศักดิ์ อธิกุลรัตน์, 2518--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-19T07:35:51Z-
dc.date.available2023-12-19T07:35:51Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10920-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชัน (2) พัฒนาและวิเคราะห์ระบบบริการบนแบบจำลองธุรกิจ และ (3) ประเมินระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนได้เสียในระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชัน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแพทย์ผู้บริหารสถานพยาบาล จำนวน 7 คน แพทย์ผู้ปฏิบัติงานด้านรังสีเทคนิค และห้องปฏิบัติการทางคลินิก จำนวน 1 คน แพทย์เจ้าของกิจการคลินิก/ศูนย์เอกซเรย์ จำนวน 3 คน กลุ่มเภสัชกรการตลาด จำนวน 1 คน และนักพัฒนาโปรแกรม และผู้บริหารโครงการ จำนวน 3 คน รวมทั้งผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 840,563 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามออนไลน์ ด้วยวิธีการสุ่มตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการอุปนัยและการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชันมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ การลงทะเบียน กิจกรรมของระบบบริการ และการชาระเงิน ในส่วนของกิจกรรมของระบบบริการประกอบด้วยกิจกรรมหลักและกิจกรรมเสริมของระบบบริการ (2) ผลการวิเคราะห์แบบจำลองธุรกิจของระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชันประกอบด้วย 9 องค์ประกอบดังนี้ การนำเสนอคุณค่า การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ช่องทางการเข้าถึงบริการ กลุ่มลูกค้า กิจกรรมทางธุรกิจ ทรัพยากรหลัก พันธมิตร โครงสร้างต้นทุน การสร้างรายได้และประโยชน์ (3) ด้านการประเมินระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชันพบว่าแบบสอบถามที่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 360 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนแบบสอบถามทั้งหมด ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นในภาพรวมของระบบในระดับมากที่สุด ด้านภาพรวมของขั้นตอนของระบบบริการและความสามารถของระบบ ด้านผลลัพธ์ คุณภาพ ข้อมูลส่วนตัว ของผู้รับบริการและการตอบสนองของระบบบริการในระดับมากที่สุดตามลำดับ ในขณะที่ข้อคิดเห็นในด้านกิจกรรมทางการแพทย์ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงทุกกิจกรรมและด้านการตรวจร่างกายด้วยวิดีโอคอลร่วมกับการเชื่อมโยงผลการตรวจเลือดและเอกซเรย์ทาให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้นอยู่ในระดับมากth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่th_TH
dc.subjectโทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมคอมพิวเตอร์th_TH
dc.subjectความจริงเสมือนในการจัดการth_TH
dc.titleการพัฒนาระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชัน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of virtual polyclinic service system on mobile application in Surat Thani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to (1) study the components of a virtual polyclinic service system on a mobile application, (2) develop and analyze a service system on a business canvas model, and (3) evaluate a virtual polyclinic service system on a mobile application in Surat Thani Province. This research was a mixed method research. The study population was healthcare professionals who were the stakeholders of a virtual polyclinic system on a mobile application according to the specified criteria. The 15 samples were divided into five groups including: seven hospital management executives, one medical doctor in a clinical laboratory, three physicians who own a clinic/X-ray center, one marking pharmacist, and three program developers and project managers. Another population was 840,563 social medial users in Surat Thani Province. The sample size was determined by using Taro Yamane Table, and obtained the sample size of 400 persons. The research instrument was a semi-structured interview form and online questionnaires. The statistic method used for analyzing the quantitative data were frequency, percentage, mean, standard deviation. Qualitative data were analyzed using inductive reasoning and typological analysis. The results of the study revealed that (1) the virtual polyclinic on a mobile application had three main components: registration, service system activities, and payment. The service system was also divided into the main activities and the auxiliary activities of the service system. (2) Analysis of the virtual polyclinic service system on the Business Model consisted of nine components including: value proposition, customer relationship, channel, customer, business activities, key resources, partners, cost structure, revenue generation and benefits. (3) For evaluation of a virtual polyclinic service system on a mobile application, there were 360 questionnaires that could be used in this study, representing 90 percent of the total number of questionnaires. Respondents evaluated an overview of the system at the highest level. Service flows process, system availability, outcome, quality, data privacy and responsiveness of the service system were at the highest level respectively. Opinions on all available medical activities and physical examination with video call, together with linking of blood test results and X-rays, making the diagnosis more accurate; were at a high levelen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166911.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons