Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10920
Title: | การพัฒนาระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชัน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Development of virtual polyclinic service system on mobile application in Surat Thani Province |
Authors: | ราณี อิสิชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา ดำรงศักดิ์ อธิกุลรัตน์, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์ โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ โทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ความจริงเสมือนในการจัดการ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชัน (2) พัฒนาและวิเคราะห์ระบบบริการบนแบบจำลองธุรกิจ และ (3) ประเมินระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนได้เสียในระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชัน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแพทย์ผู้บริหารสถานพยาบาล จำนวน 7 คน แพทย์ผู้ปฏิบัติงานด้านรังสีเทคนิค และห้องปฏิบัติการทางคลินิก จำนวน 1 คน แพทย์เจ้าของกิจการคลินิก/ศูนย์เอกซเรย์ จำนวน 3 คน กลุ่มเภสัชกรการตลาด จำนวน 1 คน และนักพัฒนาโปรแกรม และผู้บริหารโครงการ จำนวน 3 คน รวมทั้งผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 840,563 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามออนไลน์ ด้วยวิธีการสุ่มตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการอุปนัยและการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชันมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ การลงทะเบียน กิจกรรมของระบบบริการ และการชาระเงิน ในส่วนของกิจกรรมของระบบบริการประกอบด้วยกิจกรรมหลักและกิจกรรมเสริมของระบบบริการ (2) ผลการวิเคราะห์แบบจำลองธุรกิจของระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชันประกอบด้วย 9 องค์ประกอบดังนี้ การนำเสนอคุณค่า การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ช่องทางการเข้าถึงบริการ กลุ่มลูกค้า กิจกรรมทางธุรกิจ ทรัพยากรหลัก พันธมิตร โครงสร้างต้นทุน การสร้างรายได้และประโยชน์ (3) ด้านการประเมินระบบบริการสหคลินิกเสมือนจริงบนโมบายแอปพลิเคชันพบว่าแบบสอบถามที่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 360 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนแบบสอบถามทั้งหมด ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นในภาพรวมของระบบในระดับมากที่สุด ด้านภาพรวมของขั้นตอนของระบบบริการและความสามารถของระบบ ด้านผลลัพธ์ คุณภาพ ข้อมูลส่วนตัว ของผู้รับบริการและการตอบสนองของระบบบริการในระดับมากที่สุดตามลำดับ ในขณะที่ข้อคิดเห็นในด้านกิจกรรมทางการแพทย์ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงทุกกิจกรรมและด้านการตรวจร่างกายด้วยวิดีโอคอลร่วมกับการเชื่อมโยงผลการตรวจเลือดและเอกซเรย์ทาให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้นอยู่ในระดับมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10920 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
166911.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License