Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนีกร โชติชัยสถิตย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุนิสา จุ้ยม่วงศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปริญญา สัตตะบุตร, 2518--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-19T08:16:28Z-
dc.date.available2023-12-19T08:16:28Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10928-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.บ.(การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 157,668 คน กำหนดขนาดตัวอย่าง 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มที่ 2 คือ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 12 คน กำหนดโดยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามผู้สูงอายุที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวม อยู่ในระดับมาก สำหรับรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสภาพร่างกายที่ดี ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี และอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี (2) ผู้สูงอายุที่มีเพศแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างกัน ผู้สูงอายุที่มีอายุ การศึกษา รายได้และสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ควรเพิ่มเบี้ยยังชีพ ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพ ด้านสภาพร่างกายที่ดี ควรมีบริการตรวจสุขภาพประจำปี ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและโภชนาการและจัดหาอุปกรณ์ การออกกำลังกายในหมู่บ้าน ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง ควรจัดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชุมชน ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม ควรส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ควรจัดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์แก่คนรุ่นหลัง ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี ควรส่งเสริมให้คนในครอบครัวมีการสื่อสารที่ดีต่อกัน พักผ่อนและทำกิจกรรมร่วมกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิต--ผู้สูงอายุ--ภาวะสังคมth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--ไทย--เพชรบูรณ์th_TH
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกับปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัวในจังหวัดเพชรบูรณ์th_TH
dc.title.alternativeA comparison between the quality of life of the elderly and individual and family factors in Phetchabun Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1) to study the level of quality of life of the elderly in Phetchabun province (2) to compare between the quality of life of the elderly in Phetchabun province and individual and family factors and (3) to study guidelines for the development of quality of life of the elderly in Phetchabun province. This study employed a survey research method. The populations were 2 groups. The first group was 157,668 elderlies who live in Phetchabun province, given the sample size have 400 persons by using multi-stage sampling technique. The second group was 12 elderly workers by using purposive sampling. The instruments were a questionnaire with the reliability of 0.94 and interview form, statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, ANOVA and content analysis. The results of research showed that (1) The overall quality of life of the elderly at a high level for each aspect, it was found that it was at a high level, including good physical condition, self-determination social integration interpersonal relationship in good mood and at the moderate level was good living conditions (2) The elderly with different sexes had no difference in overall quality of life. Elderly people with different age, education, income and marital status. The overall quality of life was significantly different at the .05 levels. (3) The guidelines for improving the quality of life of the elderly in Phetchabun province consist of the following aspects. In terms of good living conditions, there should be an increase in subsistence allowance, improving the environment suitable for the elderly and promoting occupation. For good physical condition aspect, there should be annual health check-up services, health and nutrition education and exercise equipment should be provided in the village. Moreover, Self-determination aspect, there should be a space for discussion in the community. Social integration aspect should be encouraging the elderly to participate in social activities, received communication technology skills training. In terms of interpersonal relationships, It is recommended to arrange for the elderly to share their knowledge and experiences with the next generation. For the good mood aspect, family members should be encouraged to have good communicate with each other, relax and do activities together.en_US
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
166926.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons