Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10928
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกับปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัวในจังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | Comparison between the quality of life of the elderly and individual and family factors in Phetchabun Province |
Authors: | รัชนีกร โชติชัยสถิตย์ ปริญญา สัตตะบุตร, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุนิสา จุ้ยม่วงศรี |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์ คุณภาพชีวิต--ผู้สูงอายุ--ภาวะสังคม ผู้สูงอายุ--ไทย--เพชรบูรณ์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 157,668 คน กำหนดขนาดตัวอย่าง 400 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มที่ 2 คือ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 12 คน กำหนดโดยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามผู้สูงอายุที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 และแบบสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวม อยู่ในระดับมาก สำหรับรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสภาพร่างกายที่ดี ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี และอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี (2) ผู้สูงอายุที่มีเพศแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างกัน ผู้สูงอายุที่มีอายุ การศึกษา รายได้และสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ควรเพิ่มเบี้ยยังชีพ ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพ ด้านสภาพร่างกายที่ดี ควรมีบริการตรวจสุขภาพประจำปี ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและโภชนาการและจัดหาอุปกรณ์ การออกกำลังกายในหมู่บ้าน ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง ควรจัดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชุมชน ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม ควรส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ควรจัดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์แก่คนรุ่นหลัง ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี ควรส่งเสริมให้คนในครอบครัวมีการสื่อสารที่ดีต่อกัน พักผ่อนและทำกิจกรรมร่วมกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.บ. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10928 |
Appears in Collections: | Hum-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
166926.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License