Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10935
Title: ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษา พี เอช พี เรื่องการติดต่อฐานข้อมูลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
Other Titles: A computer-based learning package via network in the career and technology learning area, on the topic of PHP language language programming for connecting with database, for Mathayom Suksa V students in Samut Prakan Educational Service Area 2
Authors: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัตรา คูหากาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภุชงค์ จันทร์เปล่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
พีเอชพี (ภาษาคอมพิวเตอร์)
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชาการเขียนโปรแกรมภาษา พี เอช พี เรื่องการติดต่อฐานข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษา ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชาการ เขียนโปรแกรมภาษา พี เอช พี เรื่องการติดต่อฐานข้อมูล และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียน โดยใช้ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชาการเขียนโปรแกรมภาษา พี เอช พี เรื่องการติดต่อ ฐานข้อมูล การศึกษา 2552 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จำนวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาการ เขียนโปรแกรมภาษา พี เอช พี เรื่องการติดต่อฐานข้อมูล (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E/E ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายที่สร้างและ พัฒนาขึ้นทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดังนี้ 82.22/81.00 81.30/80.33 81.48/80.67 ตามลำดับ (2) นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายในระดับเหมาะสม มาก
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10935
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons