Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10966
Title: โมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยการขับเคลื่อนของสภาเกษตรกร จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Agricultural extension and development model for farmer senate movement in Udon Thani Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทิพวรรณ ลิมังกูร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนันต์ ศรีพันธุ์, 2489-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การพัฒนาการเกษตร
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานของสภาเกษตรกร จังหวัดอุดรธานีตามแนวคิดองค์กรคุณภาพ และ พัฒนาโมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยสภาเกษตรกร จังหวัดอุดรธานี การวิจัยแบบผสม ประชากรที่ใช้ในการศึกษามี 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) คณะกรรมการสภาเกษตรกร (2) ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องใน จังหวัดอุดรธานี (3) เกษตรกรทั่วไป (4) สมาชิกสภาเกษตรกร และ (5) ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาเกษตรกรจังหวัดอุดธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรทั้งหมดของคณะกรรมการสภาเกษตรกร จำนวน 28 คน ภาคีเครือข่ายฯ จำนวน 33 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสภาเกษตรกรจังหวัดอุดธานี จำนวน 11 คน และทาการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง เกษตรกรทั่วไป จำนวน 330 คน และสมาชิกสภาเกษตรกร จำนวน 330 คน โดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบที และสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านสภาเกษตรกรจังหวัดอุดธานี วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะการดำเนินงานตามแนวคิดองค์กรคุณภาพ ของสภาเกษตรกร จังหวัดอุดรธานี โดยการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของสภาเกษตรกร จังหวัดอุดรธานี ระหว่างคณะกรรมการสภาเกษตรกร กับภาคีเครือข่าย พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร (การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและความเข้มแข็งขององค์กรเกษตรกร (Sig=0.007) และด้านยุทธศาสตร์ (การจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม (Sig=0.002) และ โมเดลการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรโดยการขับเคลื่อนของสภาเกษตรกร จังหวัดอุดรธานี ประกอบไปด้วย 1) การนำองค์กร มุ่งพัฒนาการเกษตร พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ 2) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และการพัฒนาองค์กร 3) การให้ความสำคัญกับเกษตรกร การเข้าถึงข้อมูลของเกษตรกรและการให้ความช่วยเหลือ 4) การวัด วิเคราะห์ และการจัดการข้อมูล ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล พัฒนาบุคลากรของสภาเกษตรกรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน รักและผูกพันกับองค์กร 6) การจัดการกระบวนการ ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม และ7) ผลลัพธ์การดำเนินการ กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานให้ชัดเจน
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(เกษตรศาสตร์และสหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10966
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167071.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons