Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10970
Title: แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
Other Titles: Extension guidelines of mango production according to Good Agricultural Practices Standards for farmers in Wiangsa district, Nan Province
Authors: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฤมล อำพร, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มะม่วง--ไทย--มาตรฐานการผลิต.
มะม่วง--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--น่าน
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตมะม่วง 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี s) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะม่วงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2564 จำนวน 235 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 149 ราย รวบรวมข้อมูลโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสัมภายณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุดค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดลำดับ ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 59.04 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.04 คน ประสบการณ์ในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 7.07 ปี พื้นที่ในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 7.62 ไร่ ปริมาณผลผลิตมะม่วงรวมทั้งหมดต่อปีเฉลี่ย 2,064.43 กิโลกรัม มีรายได้จากการผลิตมะม่วงของครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 15,605.37 บาท และมีต้นทุนการผลิตมะม่วงต่อไร่เฉลี่ย 4,576.07 บาทแรงงานในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 2.81 คน เกษตรกรมีการใช้เงินทุนของตนเองในการผลิต (2) ลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่ชายเขา สภาพดินที่ปลูกเป็นดินร่วนปนทราย มีระยะการปลูกที่ระยะ 8 x 8 เมตร เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง มีการตัดแต่งกึ่งมะม่วงเป็นทรงเปิดกลางทุ่ม ตัวชี้วัดที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วงเป็นอายุผลและนำผลผลิตไปจำหน่ายจุดรับซื้อด้วยตนเอง (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงระดับมากที่สุด และมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วง (4) ปัญหาในด้านการจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพระดับมาก ข้อเสนอแนะควรมีการบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วนและส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับความรู้ความเข้าใจทางค้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่องและ ยั่งยืน (S) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการเกษตรจากสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่วน วิธีการส่งเสริมการเกษตรที่เกษตรกรต้องการ ได้แก่ บรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติ ศึกษาดูงาน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10970
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167281.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons