Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10972
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพิจิตรา โกติรัมย์, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-21T07:48:53Z-
dc.date.available2023-12-21T07:48:53Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10972-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพพื้นฐานทางสังคม และสภาพเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) ความรู้และความคิดเห็นต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์ 5) การได้รับและความต้องการรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ และ 6) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2562 ในตำบลกันทรารมย์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 277 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 164 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 64.6 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.09 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.29 คน มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 24.03 ปี พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 20.11 ไร่ ลักษณะการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง แรงงานในครัวเรือนโดยเฉลี่ย 2.31 คน เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยจากการขายข้าว 72,162.80 บาท และมีภาระหนี้สินเฉลี่ย 58,626.87 บาท โดยเกษตรกร ใช้เงินทุนของตนเองในการปลูกข้าว 2) เกษตรกรมีการจัดการพื้นที่ปลูก/แหล่งผลิต การจัดการเพาะปลูกข้าว การจัดการผลผลิตข้าว และปฏิบัติตามเกณฑ์กาหนดในการผลิตข้าวอินทรีย์โดยเฉลี่ยในระดับมาก 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการผลิตข้าวอินทรีย์โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีความคิดเห็นต่อการผลิตข้าวอินทรีย์โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ต้นทุนในการผลิตข้าวอินทรีย์ เฉลี่ยต่อไร่ 2,773.98 บาท และจำหน่ายข้าวให้กับโรงสีทั่วไป 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านขาดแคลน แหล่งน้ำ การจดบันทึกไม่ต่อเนื่อง รวมถึงแหล่งรับซื้อข้าว ข้อเสนอแนะในการผลิตข้าวอินทรีย์ ได้แก่ มีแปลงสาธิตการผลิตข้าวอินทรีย์ และมีตลาดรับซื้อข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ที่มีการแบ่งแยกในด้านราคาและคุณภาพ 5) เกษตรกรได้รับความรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีต้องการความรู้เรื่อง การป้องกันโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช ต้องการช่องทางในการส่งเสริมการเรียนรู้จากสื่อบุคคล (ราชการ) ต้องการวิธีการส่งเสริมในรูปแบบการศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติและการสาธิต ตามลำดับ และ 6) แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ถ่ายทอดความรู้โดยนักส่งเสริมการเกษตร ด้วยช่องทางและวิธีการที่เป็นการบรรยายร่วมกับการศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น นำไปสู่การปฏิบัติตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectข้าว--การผลิตth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย--บุรีรัมย์th_TH
dc.subjectข้าว--เกษตรอินทรีย์--การผลิตth_TH
dc.titleการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลกันทรารมย์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์th_TH
dc.title.alternativeExtension of organic rice production of farmers in Kanthararom sub-district, Krasang district, Buri Ram Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) general conditions, social basis conditions and economic conditions 2) organic rice production conditions 3) knowledge and opinion towards organic rice production 4) problems and suggestions regarding organic rice production 5) the receiving and needs for the forms and extension method of organic rice production 6) guideline analysis for organic rice production of farmers. The population of this research was 277 farmers who registered to participate in sustainable agriculture development project and the extension and development activities for organic rice production in 2019 in Kanthararom sub-district, Krasang district, and Buriram province. The sample size of 164 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.05 and simple random sampling method. Data was analyzed by using computer program package. Statistics employed were such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, standard deviation, ranking, and content analysis. The results of the research revealed that 1) 64.6% of farmers were female with the average age of 53.09 years and married. They completed primary school education, had the average household members of 4.29 people, had the average experience in rice production of 24.03 years, and had the average rice production area of 20.11 Rai. They possessed their own land with the average labor in the household of 2.31 people. Farmers earned average income from rice selling at 72,162.80 Baht and the average debt of 58,626.87 Baht. Farmers used their own funds in rice production. 2) Farmers managed their crops/production resource, rice production management, rice product management, and complied to practice and regulations in organic rice production, on average, were at the high level. 3) Farmers had knowledge about the process and methods in organic rice production, overall, at the highest level on average. The overall average of the opinions towards organic rice production was at the highest level. The average cost of organic rice production was 2,773.98 Baht per Rai and they sold the products to general rice mills. 4) Farmers faced with the problems regarding the lack of water resources, inconsistent data recording along with the difficulty to seek buying rice marketplace. Suggestions in organic rice production were such as having demonstration crops for organic rice production and having the marketplace for organic rice trading in the area that was divided in terms of pricing and quality. 5) Farmers received the knowledge about organic rice production, overall, was at the high level. They wanted to receive knowledge about the prevention of disease, insects, and pest animal. They needed channels in learning extension from personal media (government) and wanted the extension method in the form of field trip, actual practice, and demonstration respectively. And 6) the extension guideline for organic rice production was the knowledge transfer by agricultural extension officers through channel and method of lecturing in combination with field trip and practice in order for farmers to better understand the concept which would lead to correctly practice according to standarden_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167300.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.18 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons