กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10973
ชื่อเรื่อง: การยอมรับการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of longans production in according to good agricutural practices standards of farmers in Thung Hua Chang district, Lamphun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
วสันต์ ธรรมสอน, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ลำไย--การปลูก
ลำไย--มาตรฐาน
ลำไย--แง่เศรษฐกิจ
เกษตรกร--ไทย--ลำพน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตลำไย 3) การยอมรับการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ลำไย อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน จำนวน 175 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 ราย รวบรวมข้อมูลโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดลำดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 54.1 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 56.53 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกลำไยเฉลี่ย 19.09 ปี มีรายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 105,581.97 บาท มีพื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 12.85 ไร่ มีต้นทุนการผลิตลำไยเฉลี่ย 2,913.30 บาท/ไร่ และมีราคาลำไยที่ขายได้เฉลี่ย 13.67 บาท/กิโลกรัม (2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน GAP ที่ระดับมากที่สุด (3) เกษตรกรมีการยอมรับการผลิตลำไยตามมาตรฐาน GAP อยู่ในระดับมาก (4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานGAP อยู่ในระดับน้อย และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรฐาน GAP อยู่ในระดับปานกลาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10973
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167301.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons