Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10975
Title: การส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Extension of paddy collaborative farming operations in Nong Chai Si sub-district, Nong Hong district, Buri Ram Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลาดร ฐานะ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ข้าว--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--บุรีรัมย์
การทำนา--ไทย--บุรีรัมย์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลหนองชัยศรี 2) การดำเนินงานของกลุ่มนาแปลงใหญ่ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกลุ่มนาแปลงใหญ่ 4) การได้รับและความต้องการรูปแบบและวิธีการส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มนาแปลงใหญ่ 5) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มนาแปลงใหญ่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลหนองชัยศรี ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2559 จำนวน 160 คน ใช้สูตรการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 104 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกร้อยละ 53.80 เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 51 - 60 ปี มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 22.10 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่เฉลี่ย 3,271.15 บาท 2) การดำเนินงานของกลุ่ม มีการบริหารจัดการกลุ่มอยู่ในระดับมาก การจัดการด้านการลดต้นทุนการผลิตข้าวอยู่ในระดับปานกลาง การจัดการด้านการเพิ่มผลผลิตข้าวอยู่ในระดับปานกลาง และการเชื่อมโยงการตลาดอยู่ในระดับน้อย 3) มีปัญหาในการดาเนินงานด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านการลดต้นทุนการผลิตข้าว ด้านการเพิ่มคุณภาพและผลผลิตข้าวและด้านการเชื่อมโยงการตลาดทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง มีข้อเสนอแนะเรื่องการสูบน้ำใต้ดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการทำนาและการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการทำนาเพื่อใช้มูลสัตว์ทำปุ๋ยช่วยลดต้นทุนและสร้างรายได้เพิ่ม 4) ได้รับความรู้มากที่สุดในเรื่องการผลิตและการวางแผนการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐานและมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น โดยต้องการวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม ผ่านช่องทางสื่อกิจกรรมประเภทอบรมและประชุม 5) แนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่ม ได้แก่ สร้างการเรียนรู้ผ่านสื่อกิจกรรมประเภทอบรมและการประชุม ด้วยวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มนาแปลงใหญ่ ได้แก่ (1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกกลุ่มมีการจดบันทึกข้อมูลบัญชีฟาร์มเพื่อนามาวิเคราะห์แนวทางในการลดต้นทุน (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มในด้านการวิเคราะห์ต้นทุนและการวางแผนการผลิตที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน (3) สนับสนุนการจัดทาระบบข้อมูลและสารสนเทศการผลิตข้าวที่สามารถนำมาวิเคราะห์ศักยภาพและวางแผนการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่ได้
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10975
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
167305.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons