กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10986
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการสื่อสารในการให้บริการของบุคลากรในมุมมองผู้ใช้บริการโรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication behaviors in service provision among personnel in consumers’ view at Sam Chuk Hospital in Suphan Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารยา ประเสริฐชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภลักษณ์ เข็มเพ็ชร์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: บุคลากรทางการแพทย์
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทัศนคดิและความพึงพอใจด้านพฤติกรรมการสื่อสารในการให้บริการของบุคลากรในมุมมองผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี (2) พฤติกรรมการสื่อสารในการให้บริการของบุคลากรในมุมมองผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและความพึงพอใจกับพฤติกรรมการสื่อสารในการให้บริการของบุคลากรในมุมมองผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยป็นผู้ใช้บริการประเกทผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 27,225 กน คำนวณขนาคตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาวิจัย จำนวน 400 คน โดยเก็บตัวอย่างผู้ใช้บริการประเภทผู้ป่วยนอกตามเกณฑ์ที่กำหนดเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามและ ทดสอบความน่าเชื่อถือได้ระดับความเชื่อมั่นระหว่าง 0.94-0.98 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ก่ร้อขละ ค่เดี่ยส่วนเยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ทัศนติและความพึงพอใจด้านพฤติกรรมการสื่อสารในการให้บริการของบุคลากรในมุมมองผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ในระดับมาก (2) พฤติกรรมการสื่อสารในการให้บริการของบุคลากรในมุมมองผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลสามชุก จังหวัคสุพรรณบุรี อยู่ในระดับดี และ (3) ทัศนคติและความพึงพอใจค้นพฤติกรรมการสื่อสารของผู้ใช้บริการมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากกับพฤติกรรมการสื่อสารในการให้บริการของบุคลากรในมุมมองผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งค้านทักษะในการฟัง ทักษะในการให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน ทักษะในการรับข้อมูลข่าวสารที่ปราศจากอคติ และทักษะการสื่อสารแบบเปิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ผลจากการศึกษานี้สนับสนุนว่าผู้บริหารควรส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากร โดยเฉพาะทักษะในการฟัง ควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับบุคลากร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10986
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168063.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons