Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10993
Title: ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ โรงเรียนแม่ทะพัฒนศึกษา จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
Other Titles: Needs assessment in operating professional learning communities in Mae Tha Pathanasuksa School, Lampang Province, under the Secondary Education Service Area Office Lampang Lamphun
Authors: รัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมบัติ อุตรัตน์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ--ไทย--ลำปาง
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนแม่ทะพัฒนศึกษา จังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน 2) ศึกษาลำดับความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนแม่ทะพัฒศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนแม่ทะพัฒศึกษา ประชากร คือ ครูโรงเรียนแม่ทะพัฒศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนแม่ทะพัฒศึกษา ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ .84 และ .94 ตามลำดับ และแนวคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การกำกับ ติดตาม นิเทศและประเมินผล การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่ชั้นเรียน การจัดประชุมผลงาน PLC ในสถานศึกษา และการเตรียมความพร้อม และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารร่วมกับทีมนิเทศกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินการ PLC อย่างสม่ำเสมอ และนำผลไปปรับปรุงการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปรับโครงสร้างการรวมกลุ่มกันของทีม PLC ให้ยืดหยุ่น เสริมสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร พัฒนาครูให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนแบบใหม่ เชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมสะท้อนผลการดำเนินงาน PLC สู่ชั้นเรียน สนับสนุนการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการดำเนินงาน PLC และกำหนดแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโดยใช้ผลงานจากกระบวนการ PLC
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10993
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168270.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons