กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10997
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของกำลังพลทหารช่างที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting smoking behavior of the soldiers in the 2nd engineer regiment, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรวดี จรุงรัตนาพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภานุวงค์ โยกุดภู, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: การสูบบุหรี่--ไทย
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการสูบบุรี่ของกำลังพลในกรมทหารช่างที่ 2 จังหวัดนครราชสีมาและ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสูบบุหรี่ของกำลังพลในกรมทหารช่างที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา การศึกษานี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มแบบง่ายของกำลังพล ในกรมทหารช่างที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 300 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์สมการถดถอยด้วยแบบจำลองโลจิกส์ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างประมาณเกือบครึ่ง (ร้อยละ 46) มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ โดยกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยประมาณ 26 ปี และส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด (ร้อยละ 80.4) และจบมัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 41.3) ทั้งนี้มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 12,545 บาท โดยอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกคือ 16 ปี และสูบบุหรี่เฉลี่ย 200 มวนต่อเดือน และมีรายจ่ายจากค่าบุหรี่เฉลี่ยประมาณ 1,066 บาทต่อเดือน (2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสูบบุหรี่ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้แก่ การมีเพื่อนสนิทสูบบุหรี่จะเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นขณะที่ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นและความมีสามารถในการควบคุมตนเองจะช่วยลดโอกาสที่จะตัดสินใจสูบบุหรี่ให้น้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่า การมีญาติพี่น้องสูบบุหรี่ก็ส่งผลให้โอกาสในการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 ขณะที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม เช่น อายุ และรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น นโยบายรัฐควรมุ่งเน้นไปที่ผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ให้หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเริ่มสูบบุหรี่ นอกจากนี้ มาตรการใดที่จะส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมการควบคุมตนเองเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลลดโอกาสในการตัดสินใจสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10997
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168310.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons