กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10998
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยกำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The factors determining integrity and transparency level of local government
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรรถศาสตร์ สมสุข, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: การปกครองท้องถิ่น--การทุจริตและประพฤติมิชอบ
การบริหารรัฐกิจ
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยกำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉลี่ยรายจังหวัดการศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลรายปีภาคตัดขวางแบบต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2562 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นภาพรวมรายจังหวัด 76 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) และแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์เชิงพรรณนาเกี่ยวกับภาพรวมของระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่กำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉลี่ยรายจังหวัด เปรียบเทียบระหว่างแบบจำลอง Fixed Effect และ Random Effect และทดสอบเลือกแบบจำลองที่เหมาะสมด้วย Hausman Test ผลการศึกษาพบว่า (1) ในปี พ.ศ. 2561 - 2562 ระดับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเชื่อได้ว่าหากหน่วยงานใดได้ค่าคะแนนต่ำ ก็น่าจะเกิดความไม่มีคุณธรรมและความไม่โปร่งใสขึ้นในหน่วยงานนั้น (2) ผลการประมาณค่าแบบจำลอง Random Effect พบว่ ปัจจัยที่กำหนดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉลี่ยรายจังหวัด ได้แก่ สัดส่วนของประชากรที่อายุ 15 - 59 ปี (วัยแรงงาน) โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 แสดงให้เห็นว่าประชากรวัยแรงงานมากขึ้น จะทำให้ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสลดลง ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าเป็นผลจากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องของปากท้องมากกว่าเรื่องสิทธิทางการเมือง, สัดส่วนของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 แสดงให้เห็นว่าการที่ประชาชนเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีคุณธรรมและความโปร่งใสในการบริหารงานมากขึ้น สอดคล้องกับทฤษฎีตัวการตัวแทนและสัดส่วนคนจน (ด้านรายจ่าย) รายจังหวัด โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.1 ซึ่งสะท้อนว่าการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขาดคุณธรรมและความโปร่งใส จะทำให้สัดส่วนคนจนเพิ่มมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10998
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168311.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons