Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11007
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนุชจีรา สินค้า, 2512--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-01-04T03:28:45Z-
dc.date.available2024-01-04T03:28:45Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11007-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกยา 1) พฤติกรรมในการออมเงิน 2) ปัจจัที่มีผลต่อการออมเงินกับกองทุนการออมแห่งชาติ และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติของประชาชน ในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยใช้ข้อมูลที่เก็บข้อมูลจากตัวอย่างประชาชนที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขของการออมกองทุนการออมแห่งชาติ ในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 400 ราย โดยการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย ข้อมูลที่ได้มีการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้แบบจำลองโลจิสติกในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจการออมและแบบจำลองการถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณเงินออม ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการออมของประชาชนในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นการออมเงิน โดยฝากธนาคาร มีวัตถุประสงค์ออมเพื่อไว้ใช้ในยามชรา จำนวนเงินที่ออมต่ำกว่า 2,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาออมต่ำกว่า 2 ปี สัดส่วนการออมต่อรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าร้อยละ 20 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10 ประกอบด้วย รายได้ สถานภาพสมรส และอายุ โดยรายได้มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับการออมอาจเป็นเพราะว่ากองทุนการออมแห่งชาติมีข้อจำกัดในการออม ทำให้ผู้ออมนำเงินไปออมรูปแบบอื่นเพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่า ในขณะที่อายุมีความสัมพันธ์กับการออมในทิศทางเดียวกัน ซึ่งช่วงอายุที่ศึกษาอยู่ระหว่าง 15-60 ปี ผู้ที่สมรสมีแนวโน้มที่จะออมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้สมรสร้อยละ 37.68 สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณเงินออมกับกองทุนการออมแห่งชาติของประชาชน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย อายุ จำนวนผู้อุปการะเลี้ยงดู และรายได้ โดยอายุและรายได้มีความสัมพันธ์กับปริมาณเงินออมในทิศทางเดียวกัน ส่วนจำนวบผู้อุปการะเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับปริมาณเงินออม 3) ปัญหาการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ ได้แก่ การที่ต้องฝากกับธนาคารของรัฐเท่านั้น มีรายได้น้อย และมีรายได้ไม่แน่นอน อุปสรรค ได้แก่ การฝากเงินออมต้องเดินทางไปที่ธนาคารและรอคิวทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคซึ่งผู้ฝากส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และการที่ไม่สามารถนำเงินที่ออมมาใช้ได้เมื่อจำเป็น ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การส่งเสริมการฝากกองทุนการออมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง การที่สามารถนำเงินที่ออมมาใช้ได้ยามจำเป็น การขยายอายุผู้ออมเป็น 65 ปี การมีเงินปันผลตอบแทน การแจ้งรายการเกี่ยวกับเงินที่ฝากให้ทราบทุกปีและการเพิ่มช่องทางการรับฝากเข้ากองทุนให้หลากหลายเพื่อความสะดวกth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการออมกับการลงทุนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติของประชาชน ในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์th_TH
dc.title.alternativeFactors influencing on the saving with National Saving Fund of people in Lorn Kao District, Phetchabun Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study: 1) money-saving behaviour; 2) factors affecting money saving with National Saving Fund, and; 3) problems, obstacles and suggestions regarding saving with National Saving Fund of people in Lom Kao District, Phetchabun Province. The research gathered data from 400 people, via a simple quota sampling method, who complied with the condition of Thailand National Saving Fund in Lom Kao District, Phetchabun Province. Questionnaire were used as a research tool. Descriptive and quantitative analysis were employed in the study. The employed descriptive statistics included frequency, percentage, mean and standard deviation. A logistics model was used for examining the factors affecting a decision on saving with the National Saving Fund, whereas a multiple regression model was applied for investigating factors influencing the amount of saving. The study’s results show that: 1) Concerning saving behavior, the people mostly deposited money with the bank, aimed to use their saving for their old age, deposited less than 2,000 baht per month, had a saving period of fewer than two years, and had saving-income per month ratio less than 20 percent. 2) Factors affecting the decision of the people on saving with the National saving Fund included income, marital status, and age with a statistical significance of 0.10. Income had an inverse relationship to savings. This may be because the National Saving Fund has some saving constraints which made the savers designed to put their savings to other form which offered them better return. Age between 15-60 years old, had a positive association with saving. Married persons were likely to save 37.68 percent more than non-married ones. Factors affecting the amount of savings with the National Saving Fund comprised age, the number of dependents, and income with a statistical significance of 0.05. Age and income had a positive correlation with the amount of savings. However, the number of dependents had a negative relationship with the savings. 3) Problems regarding saving with Thailand National Saving Fund consisted of having to deposit only to the public bank, obtaining a low income, and having an unstable income. The Obstacles included having to travel to the banks and to wait in queues which made the depositors vulnerable to infectious as most of them were elderly person and, also, it was being unable to withdraw money when necessary. Suggestions included continually making deposit promotion with National Savings Fund, allowing withdrawals if necessary, extending the age of depositors to 65, providing a dividend, informing the details of deposits annually, and adding a variety of convenience channels for depositingen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168315.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons