กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11007
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติของประชาชน ในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing on the saving with National Saving Fund of people in Lorn Kao District, Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนูญ โต๊ะยามา
นุชจีรา สินค้า, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: การออมกับการลงทุน
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกยา 1) พฤติกรรมในการออมเงิน 2) ปัจจัที่มีผลต่อการออมเงินกับกองทุนการออมแห่งชาติ และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติของประชาชน ในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยใช้ข้อมูลที่เก็บข้อมูลจากตัวอย่างประชาชนที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขของการออมกองทุนการออมแห่งชาติ ในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 400 ราย โดยการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย ข้อมูลที่ได้มีการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้แบบจำลองโลจิสติกในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจการออมและแบบจำลองการถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณเงินออม ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการออมของประชาชนในอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นการออมเงิน โดยฝากธนาคาร มีวัตถุประสงค์ออมเพื่อไว้ใช้ในยามชรา จำนวนเงินที่ออมต่ำกว่า 2,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาออมต่ำกว่า 2 ปี สัดส่วนการออมต่อรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าร้อยละ 20 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10 ประกอบด้วย รายได้ สถานภาพสมรส และอายุ โดยรายได้มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับการออมอาจเป็นเพราะว่ากองทุนการออมแห่งชาติมีข้อจำกัดในการออม ทำให้ผู้ออมนำเงินไปออมรูปแบบอื่นเพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่า ในขณะที่อายุมีความสัมพันธ์กับการออมในทิศทางเดียวกัน ซึ่งช่วงอายุที่ศึกษาอยู่ระหว่าง 15-60 ปี ผู้ที่สมรสมีแนวโน้มที่จะออมมากกว่าผู้ที่ไม่ได้สมรสร้อยละ 37.68 สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณเงินออมกับกองทุนการออมแห่งชาติของประชาชน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย อายุ จำนวนผู้อุปการะเลี้ยงดู และรายได้ โดยอายุและรายได้มีความสัมพันธ์กับปริมาณเงินออมในทิศทางเดียวกัน ส่วนจำนวบผู้อุปการะเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับปริมาณเงินออม 3) ปัญหาการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ ได้แก่ การที่ต้องฝากกับธนาคารของรัฐเท่านั้น มีรายได้น้อย และมีรายได้ไม่แน่นอน อุปสรรค ได้แก่ การฝากเงินออมต้องเดินทางไปที่ธนาคารและรอคิวทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคซึ่งผู้ฝากส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และการที่ไม่สามารถนำเงินที่ออมมาใช้ได้เมื่อจำเป็น ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การส่งเสริมการฝากกองทุนการออมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง การที่สามารถนำเงินที่ออมมาใช้ได้ยามจำเป็น การขยายอายุผู้ออมเป็น 65 ปี การมีเงินปันผลตอบแทน การแจ้งรายการเกี่ยวกับเงินที่ฝากให้ทราบทุกปีและการเพิ่มช่องทางการรับฝากเข้ากองทุนให้หลากหลายเพื่อความสะดวก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11007
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168315.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons