กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11008
ชื่อเรื่อง: การพยากรณ์จำนวนผู้ต้องขังในประเทศไทยด้วยวิธีบอกช์-เจนกินส์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Forecasting prison population in Thailand Using Box-Jenkins method
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วสุ สุวรรณวิหค, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรัตน์ บุญมี, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน--ไทย--ภาคเหนือ
เศรษฐมิติ
นักโทษ--แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับเรือนจำในประเทศไทย 2) สร้างตัวแบบพยากรณ์จำนวนผู้ต้องขังในประเทศไทย และ 3) คาดการณ์จำนวนผู้ต้องขังในประเทศไทยโดยจำแนกเป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด และผู้ต้องขังคดีทั่วไปข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือข้อมูลทุติยภูมิ มีลักษณะเป็นอนุกรมเวลารายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 รวมข้อมูลทั้งหมด 144 ตัวอย่าง เพื่อสร้างตัวแบบพยากรณ์สำหรับคาดการณ์แนวโน้มจำนวนผู้ต้องขังในประเทศไทยในช่วง เดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางเศรษฐมิติ ด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ ได้แก่ การทดสอบความหยุดนิ่งของข้อมูล การสร้างตัวแบบจำลองที่เหมาะสมด้วยแบบจำลองอารีมา และการพยากรณ์อนุกรมเวลา ผลการศึกษา พบว่า 1) ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ต้องขังในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นปีละประมาณ 17,000 คนโดยเฉลี่ย หรือร้อยละ 7 ทำให้มีผู้ต้องขัง 332,682 คนในปี พ.ศ. 2563 แบ่งเป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด จำนวน 257,686 คน หรือร้อยละ 77.4 และผู้ต้องขังคดีทั่วไป จำนวน 74,997 คน หรือร้อยละ 22.6 โดยจำนวนผู้ต้องชังสูงกว่าความจุของเรือนจำที่ 299,048 คน 2) แบบจำลองที่เหมาะสมต่อการพยากรณ์จำนวนผู้ต้องขังคดียาเสพติดและผู้ต้องขังคดีทั่วไป คือ แบบจำลอง ARIMA (3,1,3) และ ARIMA (1,0,0) ตามลำดับ และ 3) ผลการพยากรณ์พบว่า จำนวนผู้ต้องขังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 34,851 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.4 เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2563 โดยแบ่งเป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติด จำนวน 24,423 คนและผู้ต้องขังคดีทั่วไป จำนวน 10,428 คน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11008
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168317.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons