กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11011
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากผลกระทบต่อสุขภาพของมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting economic costs of the health impacts from air-pollution in Bangkok Metropolitan |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ ทิพย์วิมล สุขเกษตร, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ต้นทุนค่าเสียโอกาส มลพิษทางอากาศ--ไทย การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนความจ็บป่วยและต้นทุนการป้องกันเพื่อประเมินต้นทุนผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ ขณะที่การวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศ ใช้แบบจำลองโทบิท ด้วยข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสุ่มแบบง่ายจำนวน 400 ตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาพบว่า (1) ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลจากผลกระทบมลพิษทางอากาศในส่วนของค่าแพทย์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,162 บาทต่อคนต่อเดือน ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียโอกาสของเวลาที่ไม่ได้ทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4,609 บาทต่อคนต่อเดือน และค่าใช้จ่ายในการป้องกันมลพิษทางอากาศ (เช่น ค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัย เป็นต้น) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7,407 บาทต่อคนต่อเดือน ผลรวมของต้นทุนผลกระทบมลพิษทางอากาศรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14,180 บาทต่อคนต่อเดือน และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้แก่ การมีความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ และรายได้ โดยผู้ที่ได้คะแนนความรู้มลพิษทางอากาศยิ่งสูงขึ้นจะมีแนวโน้มที่จะมีต้นทุนผลกระทบจากมลพิษทางอากาศน้อยลงและคนที่มีรายได้มากขึ้นจะมีต้นทุนในส่วนนี้มากขึ้นเช่นกัน ขณะที่คนที่เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะจะมีแนวโน้มที่จะมีต้นทุนผลกระทบจากมลพิษทางอากาศมากกว่าคนที่เดินทางด้วยวิธีอื่น ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่า การมีความรู้เกี่ยวกับผลกระทบมลพิษทางอากาศ ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายจากมลพิษทางอากาศลดลง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการให้ความรู้ ความเข้าใจทั้งผลกระทบและมาตรการป้องกันมลพิษทางอากาศที่ถูกต้องให้กับประชาชนเพื่อลดต้นทุนดังกล่าว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11011 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168323.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License