Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11012
Title: ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขตภาคเหนือตอนบนโดยเทคนิคการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้ม
Other Titles: Operation efficiency of the Juvenile Observation and Protection in the upper northern region using Data Envelopment Analysis
Authors: วสุ สุวรรณวิหค
วิไลลักษณ์ อินพูนใจ, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน--ไทย--ภาคเหนือ
การบริหารองค์การ
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการดำเนินงานทั่วไปของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด และ (2) ประสิทธิภาพการดำเนินงานสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัดของประเทศไทยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นข้อมูลติภูมิของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขตภาคเหนือตอนบนจำนวน 8 จังหวัด ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2562 เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ สถิติเชิงพรรณาและแบบจำลองเทคนิคการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้ม ภายใต้ตัวแบบพื้นฐาน BCC โดยมีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบลงทุน จำนวนบุคลากรในหน่วยงานจำนวนเด็กและเยาวชนที่ควบคุมตัว และปัจจัยผลผลิต ได้แก่ คะแนนตัวชี้วัดจำนวนมูลค่าที่เครือข่ายนำมาสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน คะแนนตัวชี้วัดอัตราการหลบหนีสำเร็จจากที่ควบคุมและคะแนนตัวชี้วัดร้อยละของเด็กและเยาวชนที่สามารถกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมได้ปกติสุข ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานทั่วไปของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2562 การใช้งบประมาณมีอัตราการเพิ่มขึ้น โดยงบบุคลากรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13 งบดำเนินงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 และงบลงทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 ในส่วนของจำนวนเด็กและเยาวชนที่ควบคุมตัวของแต่ละจังหวัดมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 21 และจำนวนบุคลากรมีจำนวนค่าเฉลี่ยเท่ากันทุกปี ส่วนผลดำเนินงานด้านตัวชี้วัดที่แต่ละจังหวัดทำได้ ตามตัวชี้วัดที่ทำการศึกษาจำนวน 3 ตัวชี้วัดมีอัตราการลดลงเฉลี่ยในช่วงระยะแรกคือปีงบประมาณ 2560-2561 ส่วนในปีงบประมาณ 2562 แต่ละจังหวัดสามารถปฏิบัติได้ตามค่าเป้าหมายที่แต่ตัวชี้วัดกำหนด และ (2) ประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน 8 จังหวัดที่ศึกษามีหน่วยงานที่ไม่มีประสิทธิภาพจำนวน 3 จังหวัด จากผลประสิทธิภาพด้านขนาดที่หน่วยงานอยู่ในรูปแบบของผลได้ต่อขนาดลดลง การปรับปรุงประสิทธิภาพควรต้องเป็นวิธีการปรับนโยบายให้เหมาะสมในแต่ละจังหวัด ทั้งในส่วนการจัดสรรงบประมาณ อัตรากำลังบุคลากร และการจัดกลุ่มคัดแยกการควบคุมตัวเด็กและเยาวชนในแต่ละจังหวัด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11012
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168325.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons