Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11016
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศิระเศรษฐ์ โสภาศรี, 2528--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-04T06:18:17Z-
dc.date.available2024-01-04T06:18:17Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11016-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านแก้งสัมพันธ์ จังหวัดสระแก้ว ให้มีคุณภาพเหมาะสม และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) เปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ (3) สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านแก้งสัมพันธ์ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยคือ (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ประสิทธิภาพ E/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้ง 3 หน่วยการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ 1.22/80.00, 81.11/80.17 และ 81.78/80.67 ตามลำดับซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความก้าวหน้าในการเรียน โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นในภาพรวมว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเหมาะสมในระดับมากth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectคอมพิวเตอร์--การศึกษาและการสอน--คอมพิวเตอร์ช่วยการสอนth_TH
dc.subjectอินเทอร์เน็ต--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)th_TH
dc.titleการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา บ้านแก้งสัมพันธ์ จังหวัดสระแก้วth_TH
dc.title.alternativeThe development of computer assisted instruction on the topic of Technology and Communication Education for Prathom Suksa IV students at the Education Quality Improvement Network "Ban Kaeng SamPhan" in Sa Kaeo Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to develop a computer assisted instruction program on the topic of Information and Communication Technology for Prathom Suksa IV students of schools in Ban Kaeng Samphan Educational Quality Development Network Cluster in Sa Keao province based on the pre-determined efficiency criterion; (2) to compare the pre-learning and post-learning scores of the students learning from the computer assisted instruction program on the topic of Information and Communication Technology; and (3) to study the opinions of the students toward the computer assisted instruction program on the topic of Information and Communication Technology. The research sample consisted of 30 Prathom Suksa IV students from a school in Ban Kaeng Samphan Educational Quality Development Network Cluster in Sa Keao province obtained by multi-stage random sampling. The research instruments were (1) a computer assisted instruction program on the topic of Information and Communication Technology; (2) a learning achievement test for pre-testing and post-testing; and (3) a questionnaire on student’s opinions toward the computer assisted instruction program. Statistics employed for data analysis were the E1/E2 efficiency index, mean, standard deviation, and t-test. Research findings showed that (1) the three units of the developed computer assisted instruction program on the topic of Information and Communication Technology were efficient at 81.22/80.00, 81.11/80.17, and 81.78/80.67, respectively; thus meeting the set efficiency criterion of 80/80; (2) the students learning from the computer assisted instruction program on the topic of Information and Communication Technology achieved significant learning progress as shown by their post-learning mean score being significantly higher than their pre-learning mean score at the .01 level of statistical significance; and (3) the students had overall opinion that the computer assisted instruction program on the topic of Information and Communication Technology was appropriate at the high level.en_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168393.pdfเอกสารฉบับเต็ม166.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons