Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11025
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorราณี อิสิชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorรชพร จันทร์สว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสันฐิตา ร้อยอำแพง, 2536--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-06T06:43:57Z-
dc.date.available2024-01-06T06:43:57Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11025-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563.th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวเชิงอาหารในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่ไม่ทราบจำนวน การคำนวณขนาดตัวอย่างใช้สูตรคอแครน ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 ราย และทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นโดยวิธีการคัดเลือกแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ ความแปรปรวน สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์เดินทางไปเพื่อต้องการชิมหรือทดลองรสชาติของอาหารโดยเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่เดินทางสะดวก ชอบรสชาติอาหารมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น และเมนูที่ชื่นชอบส่วนใหญ่ คือ หมี่แจ๊ะ หรือผัดหมี่ไทยวน (2) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพแตกต่างกันมีความพึงพอใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) พฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านจำนวนครั้งในการท่องเที่ยว และด้านวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่ระดับ 0.01.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงอาหาร--ไทย--สระบุรีth_TH
dc.subjectกลุ่มชาติพันธุ์--ไทยth_TH
dc.subjectยวนth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทย: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน จังหวัดสระบุรีth_TH
dc.title.alternativeThai tourist behavior in gastronomy tourism: a case study of Yuan Community Saraburi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168879.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons