กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11025
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทย: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน จังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Thai tourist behavior in gastronomy tourism: a case study of Yuan Community Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ราณี อิสิชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
รชพร จันทร์สว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันฐิตา ร้อยอำแพง, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงอาหาร--ไทย--สระบุรี
กลุ่มชาติพันธุ์--ไทย
ยวน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวเชิงอาหารในตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่ไม่ทราบจำนวน การคำนวณขนาดตัวอย่างใช้สูตรคอแครน ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 ราย และทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นโดยวิธีการคัดเลือกแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ วิเคราะห์การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ ความแปรปรวน สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์เดินทางไปเพื่อต้องการชิมหรือทดลองรสชาติของอาหารโดยเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่เดินทางสะดวก ชอบรสชาติอาหารมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น และเมนูที่ชื่นชอบส่วนใหญ่ คือ หมี่แจ๊ะ หรือผัดหมี่ไทยวน (2) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพแตกต่างกันมีความพึงพอใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) พฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านจำนวนครั้งในการท่องเที่ยว และด้านวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจของการท่องเที่ยวเชิงอาหารที่ระดับ 0.01.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11025
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168879.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons