Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ สีสะสาร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorลดาวัลย์ รอดคลองตัน, 2532--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-06T07:51:15Z-
dc.date.available2024-01-06T07:51:15Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11028-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ครูที่ปรึกษาและผู้บริหารโรงเรียน 2) การดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร 3) ปัญหาการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร 4) ความต้องการในการพัฒนาการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร และ 5) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน ได้แก่ สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ครูที่ปรึกษา และผู้บริหารโรงเรียน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 117 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรกำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อายุเฉลี่ย 10.45 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรเฉลี่ย 1.47 ปี เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรเนื่องจากต้องการความรู้ด้านการเกษตร และได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองในการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง ครูที่ปรึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 48.25 ปี ประสบการณ์ในการรับผิดชอบงานกลุ่มยุวเกษตรกรเฉลี่ย 1.5 ปี จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สำหรับผู้บริหารโรงเรียนทั้งหมดเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 47.33 ปี ประสบการณ์การบริหารเฉลี่ย 9.67 ปี และสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 2) สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรเห็นด้วยกับการดำเนินงานของกลุ่มในระดับมากเกือบทุกประเด็น ครูที่ปรึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน และผู้บริหารโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายในการสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกร 3) ปัญหาการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน ได้แก่ การขาดองค์ความรู้ในการทำกิจกรรม เวลาและสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสม การขาดประสบการณ์และความต่อเนื่องของกิจกรรม 4) ความต้องการการสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร พบว่า ต้องการการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ งบประมาณและปัจจัยการผลิต การติดตามดูแลการดำเนินกิจกรรมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอย่างต่อเนื่อง 5) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน พบว่า ควรมีการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมให้ชัดเจน มีการสนับสนุนองค์ความรู้ งบประมาณและปัจจัยการผลิต รวมถึงมีการติดตามการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectยุวเกษตรกร--ไทย--สงขลาth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทยth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์.th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนในพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลาth_TH
dc.title.alternativeOperational development guideline of in-school farm youth groups in Sathing Phra district area of Songkhla Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168849.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons