Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11029
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุพัชชา ขับกล่อมส่ง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorคมจิตร์ คามตะศิลา, 2524--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-06T08:05:14Z-
dc.date.available2024-01-06T08:05:14Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11029-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การแปรรูปเนื้อสัตว์ตามมาตรฐานการผลิตขั้นต้น 3) การแปรรูปเนื้อสัตว์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 4) การปฏิบัติตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ และ 5) ปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการส่งเสริมเพื่อพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ให้ได้ตามมาตรฐานอาหารปลอดภัยประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตอาหารแปรรูปประเภทเนื้อสัตว์ในจังหวัดชัยภูมิ 8 กลุ่ม จำนวน 145 คน ใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 107 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนอายุเฉลี่ย 54.66 ปี จบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพการเกษตรคือการผลิตพืช ระยะเวลาที่เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 7.87 ปี รายได้ครัวเรือนจากการเป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 8,380.19 บาทต่อปี การได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตอาหารแปรรูปประเภทเนื้อสัตว์จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 2) การปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตขั้นต้นในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ของวิสาหกิจชุมชน ปฏิบัติตามมาตรฐานทุกตรั้งเกือบทั้งหมด ไม่มีการปฏิบัติเพียงประเด็นเดียว คือ การห้ามผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริเวณการผลิต 3) การแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจชุมชน ปฏิบัติตามมาตรฐานเพียงร้อยละ 50 ของาตรฐานทั้งหมด 4) การปฏิบัติตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน ปฏิบัติตามมาตรฐานเกือบทั้งหมด ยกเว้น การวิเคราะห์คุณภาพหรือมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ และ 5) ปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ตามมาตรฐานต่าง ๆ ดังนี้ การปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตขั้นต้น ปัญหาระดับปานกลางและความต้องการระดับมาก การปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ปัญหาอยู่ในระดับปานกลางและความต้องการอยู่ในระดับมาก และการปฏิบัติตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ ปัญหาและความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ ประเด็นด้านการตลาดและเงินทุน ปัญหาอยู่ในระดับปานกลางและความต้องการอยู่ระดับมากตามลำดับ.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectเนื้อสัตว์ -- การแปรรูปth_TH
dc.subjectวิสาหกิจชุมชน -- ไทย -- ชัยภูมิth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์.th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดชัยภูมิให้ได้ตามมาตรฐานอาหารปลอดภัยth_TH
dc.title.alternativeMeat product processing by community enterprises of Chaiyaphum Province in compliance with food safety standardsth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168852.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons