Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11030
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ พันธวิศิษฏ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorอรรฆย์คณา แย้มนวล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพิสุทธิ์ สุบงกช, 2510--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-06T08:29:40Z-
dc.date.available2024-01-06T08:29:40Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11030-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดอ่างทอง 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อราคาประเมินที่ดินในจังหวัดอ่างทอง และ 3) เลือกแบบจำลองการประเมินราคาที่ดินของแต่ละพื้นที่ในจังหวัดอ่างทอง การศึกษานี้ใช้ข้อมูลราคาที่ดินจากแบบบันทึกข้อมูลการซื้อขายของสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ที่ได้จากการสำรวจภาคสนามจากราคาประเมินราคาที่ดินรายแปลงของจังหวัดอ่างทองในปี พ.ศ.2548 โดยการสุ่มเลือกจำนวน 367 ตัวอย่างและในปีพ.ศ.2563 จำนวน 719 ตัวอย่าง ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายสภาพทั่วไปในการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อระบุปัจจัยที่มีผลต่อราคาประเมินที่ดินและทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลองราคาประเมินที่ดินที่ได้จากการศึกษากับข้อมูลในปีพ.ศ.2563 โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์สารสนเทศทางภูมิศาสตร์และทดสอบความสอดคล้องทางสถิติด้วยการทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของการใช้ประโยชน์ที่ดินอำเภอเมืองอ่างทอง แสวงหาและสามโก้มีลักษณะการใช้ที่ดินแบบวงแหวน ส่วนอำเภอไชโย ป่าโมก วิเศษชัยชาญและโพธิ์ทอง มีลักษณะการใช้ที่ดินแบบตามแนวยาว 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาประเมินที่ดินในจังหวัดอ่างทองโดยสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงราคาประเมินที่ดินได้ร้อยละ 59.5 เมื่อพิจารณาจากสัมประสิทธิ์แห่งการกำหนดที่ปรับค่าแล้ว ประกอบด้วยปัจจัย5 ด้านคือ 2.1) ระยะห่างจากส่วนราชการ ตลาด ศูนย์การค้า หรือชุมชนที่สำคัญ 2.2) ทำเลที่ตั้งอยู่ติดถนนสายสำคัญในพื้นที่ 2.3) ลักษณะรูปแปลงของที่ดิน 2.4) ปัจจัยด้านสาธารณูปโภคและ 2.5) ราคาตลาดของที่ดินในบริเวณใกล้เคียง 3) แบบจำลองของราคาประเมินที่ดินในแต่ละอำเภอของจังหวัดอ่างทองทั้ง 7 อำเภอ ประกอบด้วยปัจจัยที่มีส่งผลต่อราคาประเมินที่ดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแตกต่างกันไปตามพื้นที่ของแต่ละอำเภอตั้งแต่ 3 ถึง 5 ปัจจัยที่มีผลต่อราคาประเมินที่ดินประกอบด้วย 3.1) ที่ดินที่เหมาะสมเพื่อการพานิชย์ 3.2) ทำเลที่ตั้งที่ดินอยู่ติดถนนคอนกรีต 3.3) ที่ดินที่เหมาะสมเพื่อการพักอาศัย 3.4) ทำเลที่ตั้งที่ดินอยู่ใกล้ศูนย์ราชการตลาดหรือศูนย์การค้าในรัศมี 3,000 เมตร และ 3.5) ทำเลที่ตั้งที่ดินอยู่ติดถนนสายหลัก และผลการทดสอบความสอดคล้องของปัจจัยที่กำหนดราคาประเมินที่ดินที่ค้นพบทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอพบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลราคาประเมินที่ดินในปี 2563 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการประเมินราคาที่ดิน--ไทย--อ่างทองth_TH
dc.subjectธุรกิจอสังหาริมทรัพย์th_TH
dc.subjectการจัดสรรที่ดินth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์.th_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาประเมินที่ดินจังหวัดอ่างทองth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the land appraisal in AngThong Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168881.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons