กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11031
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับส้มโอขาวแตงกวาของเกษตรกร ในจังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting compliance with Good Agricultural Practices standards for pummelo cv. Khao Taeng Gua of farmers in Chai Nat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา.
ภรณ์ทิพย์ ศรีละไม้, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ส้มโอ -- ไทย -- ชัยนาท -- การผลิต
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
ผลิตผลเกษตร -- คุณภาพ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตส้มโอขาวแตงกวาตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับการผลิตส้มโอขาวแตงกวาของเกษตรกร และ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับการผลิตส้มโอขาวแตงกวาของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอขาวแตงกวา ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอในจังหวัดชัยนาท ปีการผลิต 2564 จำนวน 307 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวนตัวอย่าง 174 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.9 มีอายุเฉลี่ย 60.02 ปี ร้อยละ 59.2 จบระดับการศึกษาประถมศึกษา มีประสบการณ์ปลูกส้มโอขาวแตงกว่าเฉลี่ย 9.16 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.27 คน มีรายได้จากการผลิตส้มโอขาวแตงกวาเฉลี่ย 32,684.63 บาทต่อไร่ต่อปี มีรายจ่ายจากการผลิตส้มโอขาวแตงกวาเฉลี่ย 11,825.82 บาทต่อไร่ต่อปี มีผลผลิตส้มโอขาวแตงกวาเฉลี่ย 765.48 กิโลกรัมต่อไร่ และเกษตรกรร้อยละ 87.9 ไม่มีตำแหน่งทางสังคม 2) เกษตรกรร้อยละ 100.0 มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตส้มโอขาวแตงกวาตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในด้านการจัดการด้านสุขลักษณะของสถานที่และวิธีการขนย้าย พักผลิตผลเพื่อป้องกันการปนเปื้อน 3) เกษตรกรร้อยละ 82.8 มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับการผลิตส้มโอขาวแตงกวาอยู่ในระดับปานกลาง และ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับส้มโอขาวแตงกวาของเกษตรกรในจังหวัดชัยนาท พบว่า มีตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญอย่างยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ ความรู้ของเกษตรกร ปัญหาด้านการผลิต และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคล และอีก 2 ตัวแปร มีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และปัญหาด้านการตลาด โดยมีตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรตามในเชิงลบ คือ ปัญหาด้านการผลิต และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคล หมายความว่าหากตัวแปรนี้มากขึ้น การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีจะลดลง และอีก 3 ตัวแปร มีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรตามในเชิงบวก คือ ความรู้ของเกษตรกร จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และปัญหาด้านการตลาด หมายความว่าหากตัวแปรเหล่านี้มีมากขึ้น การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีก็มากขึ้นตามไปด้วย.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11031
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168860.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons