Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11032
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมานิต สิงห์โคตร, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-06T09:05:50Z-
dc.date.available2024-01-06T09:05:50Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11032-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การออกแบบและพัฒนาเครื่องอัดก้อนปลูกพืชสำเร็จรูป 2) การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องอัดก้อนปลูกพืชสำเร็จรูป 3) สมบัติทางกายภาพและเคมีของก้อนปลูกพืชสำเร็จรูป และ 4) ผลของสูตรก้อนปลูกพืชสำเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นหอม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงการทดลอง แบ่งเป็น 2 การทดลอง 1) การออกแบบและพัฒนาเครื่องอัดก้อนปลูกพืชสำเร็จรูป และทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องอัดก้อนปลูกพืชสำเร็จรูป ทำการทดสอบซ้ำ จำนวน 3 ครั้ง เก็บข้อมูลเวลาที่ใช้ในการอัดก้อนและอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 2) การพัฒนาก้อนปลูกพืชสำเร็จรูปใช้หอมแดงเป็นพืชทดลอง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 4 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 ก้อนปลูกพืชการค้าสูตรที่ 2 ถ่านชีวภาพ:ขุยมะพร้าว:แกลบดำ:ปุ๋ยคอก 1:2:1:1 สูตรที่ 3 โคโค่พีชะขุยมะพร้าว:แกลบดำ:และปุ๋ยคอก 1:2:1:1 และสูตรที่ 4 ขุยมะพร้าว:แกลบดำ:ปุ๋ยหมักฟางข้าว:ปุ๋ยมูลไส้เดือน 2:1:1:1 สูตรละ 7 ซ้ำ เก็บข้อมูลสมบัติทางกายภาพและเคมีของก้อนปลูกพืชสำเร็จรูป และการเจริญเติบโตของหอมแดง วิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทางสถิติด้วยวิธี Duncan's new multiple rang test ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องอัดก้อนปลูกพืชสำเร็จรูปเป็นเครื่องกดอัดระบบกึ่งอัตโนมัตินิวเมติกลักษะการสร้างเป็นรูปตัว C ความแข็งแรงยืดหยุ่นตามมาตรฐานโครงสร้าง โดยใช้ระบบไฟฟ้าในการควบคุม 220 โวลล์ และมีแม่พิมพ์ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือแม่พิมพ์ตัวบนกับตัวล่าง 2) ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องอัดก้อนปลูกพืชสำเร็จรูป สามารถผลิตก้อนปลูกพืชสำเร็จรูปต่อเนื่องได้ตลอด 8 ชั่วโมงต่อวัน ความเร็วในการผลิตก้อนปลูกพืช 2 นาทีต่อก้อน กำลังการผลิต 240 ก้อนต่อวัน และค่าไฟฟ้าวันละ 121.6 บาท 3) สมบัติทางกายภาพของก้อนปลูกพืชสำเร็จรูปสูตรที่ 4 มีความสามารถในการอุ้มน้ำดีที่สุด เท่ากับ 36.8% แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสูตรอื่น ๆ (p<0.05) และความหนาแน่นของก้อนปลูกพืชสำเร็จรูปสูตรที่ 1 มีค่ามีความหนาแน่นต่ำที่สุด แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสูตรอื่น ๆ (p0.05) ส่วนสมบัติทางเคมีของก้อนปลูกสำเร็จรูป สูตรที่ 1 มีการนำไฟฟ้ามากที่สุด 6.47 dS/cm ค่า pH 5.87 สัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน อินทรีย์คาร์บอนอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมมากที่สุด เท่ากับ 1.90%, 6.64%, 26.4 %, 45.60%, 0.81% และ 2.32% ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสูตรอื่น ๆ (p<0.05) และ 4) การเจริญเติบโตของหอมแดงที่ปลูกในก้อนปลูกพืชสำเร็จรูปสูตรที่ 3 มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมหอมแดง ความยาวใบ ความยาวราก เส้นผ่านศูนย์กลางหัวหอม และน้ำหนักสดต้นและรากมากที่สุด เท่ากับ 1.75 เซนติเมตร 29.0 เซนติเมตร 9.5 เซนติเมตร 4.3 เซนติเมตร และ 45 กรัม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสูตรอื่น (p<0.05).th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectวัสดุปลูกพืชth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.titleการพัฒนาเครื่องอัดก้อนปลูกพืชสำเร็จรูปและก้อนปลูกพืชสำเร็จรูปth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of growing media block machines and growing media blockth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168855.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons