Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11057
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorอมร อินทราเวช, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorทัศพร เขื่อนเพชร, 2523--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-09T03:22:01Z-
dc.date.available2024-01-09T03:22:01Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11057-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้ที่เกษตรกรได้รับเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน 3) การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของเกษตรกรเพื่อปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าว และ 4) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในนาข้าว ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และเกษตรกรทั่วไปที่ปลูกข้าวในจังหวัดพิจิตร จำนวน 359 คน และ 835 คน ตามลำดับ โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่ายกลุ่มละ 92 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนน การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เพศและการเป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรของกลุ่มเกษตรกรทั่วไปมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ รายได้จากการทำนาเฉลี่ยต่อปีของกลุ่มเกษตรกรทั่วไปที่เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความรู้ที่เกษตรกรได้รับเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินจากแหล่งต่างๆ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเกษตรกรทั้งสองกลุ่มได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การฝึกอบรม และวิทยุโทรทัศน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ เกษตรกรมีความรู้ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้องมากกว่าเกษตรกรทั่วไป และเกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินภาพรวมในระดับเห็นด้วยมาก ซึ่งเห็นด้วยกับการใช้พืชตระกูลถั่วสามารถปรับปรุง บำรุงดินได้ดีมากที่สุด นอกจากนี้พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เห็นด้วยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน 3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเป็นบางครั้ง 4) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในนาข้าว ภาพรวมในระดับปานกลาง โดยปัญหาด้านเทคโนโลยีการไถกลบตอซังมากที่สุด และต้องการการอบรมพร้อมสาธิตการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ สารไล่แมลงศัตรูพืช และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรมากที่สุด นอกจากนี้พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มีความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมากกว่าเกษตรกรทั่วไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการพัฒนาที่ดิน--ไทย--พิจิตรth_TH
dc.subjectที่ดินเพื่อการเกษตร--ไทย--พิจิตรth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีการเกษตร--ไทย--พิจิตรth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย--พิจิตรth_TH
dc.titleการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพิจิตรth_TH
dc.title.alternativeLand development technology utilization for the rice field by farmers in Pichit Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study 1) the personal characteristics, social and economic status of farmers, 2) the level of knowledge gained by farmers on land development technologies, 3) utilization of land development technology by farmers to improve soil in rice fields and 4) problems and needs of farmers on an extension of land development technology in the rice field. The population of this study were rice farmers who participated in 92 large scale farming groups and general rice farmers in Phichit Province accounting for 359 and 835 farmers respectively. The samples were selected by simple random sampling with 92 farmers for each group. Data was collected by interviewing and the statistics were used in the analysis including frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, and t-test. The research findings were as follows: 1) most of the both rice farmer groups were male, completed primary education. The relationships between gender and membership of social group/farmer institution of general farmers group was statistical significance, and rice farming income was significant difference among general rice farmers at 0.05 level. 2) The overall knowledge gained from various sources on land development technology by both farmer groups was at a moderate level. They received knowledge from agricultural extension personnel, training, and television at the most level. The farmers had overall knowledge at moderate level, farmers participating in the large scale farming groups had more accurate answer than general farmers, and the farmers had a lot of ideas about overall land development technology at a very agreeable level such as the use of legumes could improve the soil as well. Furthermore, the most of farmers participating in the large scale farming groups agreed on the land development technology. 3) Most farmers had used the land development technology at quite sometimes. 4) Problems and needs of farmers in an extension of land development technology for paddy rice were at moderate level, they had problems on technology of incorporation of rice straw the most and a greater needs to be trained with demonstration on compost, bio extract, insect repellent, and supporting agricultural input for farmers. The farmers participating in the large scale farming groups had more needs of land development technology than general farmersen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons