กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11057
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในนาข้าวของเกษตรกรจังหวัดพิจิตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Land development technology utilization for the rice field by farmers in Pichit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมร อินทราเวช, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทัศพร เขื่อนเพชร, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การพัฒนาที่ดิน--ไทย--พิจิตร
ที่ดินเพื่อการเกษตร--ไทย--พิจิตร
เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย--พิจิตร
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--พิจิตร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้ที่เกษตรกรได้รับเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน 3) การใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของเกษตรกรเพื่อปรับปรุงบำรุงดินในนาข้าว และ 4) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในนาข้าว ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และเกษตรกรทั่วไปที่ปลูกข้าวในจังหวัดพิจิตร จำนวน 359 คน และ 835 คน ตามลำดับ โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่ายกลุ่มละ 92 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าคะแนน การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เพศและการเป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรของกลุ่มเกษตรกรทั่วไปมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ รายได้จากการทำนาเฉลี่ยต่อปีของกลุ่มเกษตรกรทั่วไปที่เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความรู้ที่เกษตรกรได้รับเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินจากแหล่งต่างๆ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเกษตรกรทั้งสองกลุ่มได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การฝึกอบรม และวิทยุโทรทัศน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ เกษตรกรมีความรู้ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้องมากกว่าเกษตรกรทั่วไป และเกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินภาพรวมในระดับเห็นด้วยมาก ซึ่งเห็นด้วยกับการใช้พืชตระกูลถั่วสามารถปรับปรุง บำรุงดินได้ดีมากที่สุด นอกจากนี้พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เห็นด้วยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน 3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเป็นบางครั้ง 4) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในนาข้าว ภาพรวมในระดับปานกลาง โดยปัญหาด้านเทคโนโลยีการไถกลบตอซังมากที่สุด และต้องการการอบรมพร้อมสาธิตการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ สารไล่แมลงศัตรูพืช และการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรมากที่สุด นอกจากนี้พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มีความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินมากกว่าเกษตรกรทั่วไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11057
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons