Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11063
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมียาเหลือใช้ของผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม |
Other Titles: | Factors related to unused medications among diabetic outpatients at Detudom Crown Prince Hospital |
Authors: | นิตยา เพ็ญศิรินภา ปนัดดา แสงทอง, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พาณี สีตกะลิน |
Keywords: | เบาหวาน--ผู้ป่วย ยา |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านการรักษาที่เกี่ยวข้อง กับการมียาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (2) ความชุก ชนิด ปริมาณ และมูลค่ายาเบาหวานที่เหลือใช้ของผู้ป่วย โรคเบาหวาน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยด้านการรักษา กับการมียาเหลือใช้ของผู้ป่วย โรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สมรสแล้ว มีอายุเฉลี่ย 59.15 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,021.60 บาท ระยะเวลาป่วย ด้วยโรคเบาหวานเฉลี่ย 9.29 ปี ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งจะมีโรคร่วมตั้งแต่ 2โรคขึ้นไป ส่วนใหญ่ดูแลเรื่องการกินยาด้วยตนเอง ไม่ใช้ยาสมุนไพร ไม่ทราบมูลค่ายาที่ได้รับ กว่าครึ้งมีพฤติกรรมการกินยาที่ผิด ใช้สิทธิบัตรทอง มีนัดพบแพทย์ นาน 3 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่ไม่เคยมานอนโรงพยาบาลและไม่ได้รักษาหลายแผนก มาพบแพทย์ตามนัด รักษา เบาหวานที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมเพียงแห่งเดียว แพทย์มีการสั่งยาเกินนัดและเปลี่ยนแปลงการรักษา (2) ความชุกของการมียาเหลือใช้ร้อยละ 86.80 มียาเหลือใช้รวม 20,508 เม็ด ในจำนวนนี้เป็นยาเสื่อมสภาพ 641 เม็ด มูลค่ารวม 4,770.93 บาท มียาเหลือใช้เฉลี่ย 87.64 เม็ดต่อคน คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 23.63 บาทต่อคน ยาที่เหลือมากที่สุด คือ Glipizide 5 มิลลิกรัม และ (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมียาเหลือใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ พฤติกรรมการกินยา การสั่งจ่ายยาเกินนัดของแพทย์ และระยะเวลาการนัดหมาย ซึ่งพฤติกรรมการกินยาผิด ของผู้ป่วย โดยเฉพาะการกินยาน้อยกว่าที่แพทย์สั่ง รวมถึงการสั่งจ่ายยาเกินนัดของแพทย์จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด ปัญหายาเหลือใช้ และผู้ป่วยที่มีระยะเวลานัดหมายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 เดือนจะมียาเหลือใช้มากกว่าผู้ป่วยที่มี ระยะเวลานัดหมายมากกว่า 2 เดือน เนื่องจากการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์บ่อยครั้งก็ย่อมทำให้มีโอกาสที่จะได้รับยาเกิน บ่อยขึ้น ดังนั้นจึงทำให้มียาเหลือใช้มากขึ้นตามไปด้วย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11063 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159586.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License