Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11093
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุภาพร อินดำ, 2531--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-12T07:57:20Z-
dc.date.available2024-01-12T07:57:20Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11093-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในตำบลโรงเข้ อำเภอ บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในประเด็นต่อไปนี้ 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคม 2) วิธีการจัดการสวนมะพร้าว 3) สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการสวนมะพร้าว และ 4) ความสอดคล้องของการจัดการสวนมะพร้าว กับแนวทางของระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.6 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 58.78 ปี เกษตรกรร้อยละ 55.4 มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมีประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวมากกว่า 20 ปี เกษตรกรปลูกมะพร้าวพันธุ์น้ำหอมลักษณะการปลูกแบบยกร่องสวน ช่วงอายุมะพร้าว 3-10 ปี เกษตรกรมีที่ดิน เป็นของตนเอง และมีเอกสารโฉนดที่ดิน 2) วิธีการจัดการสวนมะพร้าว ด้านการจัดการพื้นที่ปลูก เกษตรกร เกือบทั้งหมดมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวอยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งมลพิษ และเกษตรกรร้อยละ 37.1 มีการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างและธาตุอาหารในดิน ด้านการจัดการน้ำ เกษตรกรร้อยละ 48.4 มีการจัดการ น้ำเสียที่เกิดขึ้นในบริเวณแปลงเพาะปลูก เช่น น้ำจากห้องสุขา น้ำทิ้งต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน และ เกษตรกรร้อยละ 29.6 มีการตรวจวิเคราะห์น้ำก่อนนำมาใช้ ด้านการจัดการศัตรูพืช พบการระบาดของด้วงแรด มากเป็นอันดับหนึ่ง และเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ด้านการดูแลสุขลักษณะ เกษตรกรส่วนใหญ่มีอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ด้านการจัดการผลผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.3 มีผู้ซื้อมาตัด ผลผลิตมะพร้าวเองในสวนโดยผู้รับซื้อจะเป็นผู้คัดขนาดของมะพร้าวทั้งหมด ด้านการบันทึกข้อมูล เกษตรกร ส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.6 มีการจดบันทึกปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยว 3) สภาพปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ด้านการ จำหน่ายผลผลิต และเกษตรกรต้องการให้มีมาตรฐานสินค้าเกษตร ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ ควรมีการ กำหนดมาตรฐานการขายผลผลิตมะพร้าวผลสด 4) ความสอดคล้องของการจัดการสวนมะพร้าวกับแนวทางของ ระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่มีการตรวจวิเคราะห์ดินและน้ำก่อนนำมาใช้ เกษตรกรบางคนยังไม่รู้จักชนิดของศัตรูมะพร้าว ไม่มีการจัดทำป้ายแสดงข้อมูลอุปกรณ์และสารเคมีอย่างชัดเจน และไม่มีการจดบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectสวน--การจัดการth_TH
dc.subjectการทำสวนth_TH
dc.titleการจัดการสวนมะพร้าวของเกษตรกรในตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครth_TH
dc.title.alternativeCoconut farm management by farmers in Rongkae Sub-District, Ban Phaeo District, Samut Sakhon Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study 1) the socio-economic status of farmers who grew coconuts in Rongkae Sub-district, Banphaeo District, Samut Sakhon Province; 2) their coconut farm management; 3) problems and recommendations about coconut farm management; and 4) to what extent coconut farm management conforms to good agricultural practice guidelines. The population was 186 coconut farmers in Rongkae Sub-district, Banpaeo District, Samut Sakhon Province who were registered with the Department of Agricultural Extension in 2016. The data were collected by using structural interview and were then analyzed by a computer program. Descriptive statistics like frequency, percentage, maximum value, minimum value, mean and standard deviation were used. The results revealed that 1) about 58.6% of the farmers were male with the average age of 58.78 years old, 55.4% of them had completed primary education, they had more than 20 years experience in coconut production. Most grew aromatic coconuts, and the trees were aged 3-10 years old, planted on ridges. Most farmers had certificates of title to their land. 2) Most of the coconut farms were far from factories and pollution sources; 37.1% of farmers had their soil analyzed for chemical residues and plant nutrient content; 48.4% of the farmers had wastewater treatment and 29.6% of them had water analyzed before use. Rhinoceros beetle was a major pest and almost half of the farmers used chemical insecticides to control the pest. Farmers wore protective clothing during insecticide application. Almost all (90.3%) of farmers allowed middlemen to harvest and grade the coconuts and 58.6% of farmers recorded the number of coconuts harvested. 3) Farmers found that coconut selling was the main problem and they desired produce standards. 4) As for compliance with Good Agricultural Practice guidelines, most farmers had no soil and water analysis before using. Some farmers had no knowledge about coconut pests, had no equipment and pesticide labels and did not record the use of hazardous agricultural substancesen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons