กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11093
ชื่อเรื่อง: การจัดการสวนมะพร้าวของเกษตรกรในตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Coconut farm management by farmers in Rongkae Sub-District, Ban Phaeo District, Samut Sakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาพร อินดำ, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: สวน--การจัดการ
การทำสวน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในตำบลโรงเข้ อำเภอ บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในประเด็นต่อไปนี้ 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคม 2) วิธีการจัดการสวนมะพร้าว 3) สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการสวนมะพร้าว และ 4) ความสอดคล้องของการจัดการสวนมะพร้าว กับแนวทางของระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.6 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 58.78 ปี เกษตรกรร้อยละ 55.4 มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมีประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวมากกว่า 20 ปี เกษตรกรปลูกมะพร้าวพันธุ์น้ำหอมลักษณะการปลูกแบบยกร่องสวน ช่วงอายุมะพร้าว 3-10 ปี เกษตรกรมีที่ดิน เป็นของตนเอง และมีเอกสารโฉนดที่ดิน 2) วิธีการจัดการสวนมะพร้าว ด้านการจัดการพื้นที่ปลูก เกษตรกร เกือบทั้งหมดมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวอยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งมลพิษ และเกษตรกรร้อยละ 37.1 มีการตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างและธาตุอาหารในดิน ด้านการจัดการน้ำ เกษตรกรร้อยละ 48.4 มีการจัดการ น้ำเสียที่เกิดขึ้นในบริเวณแปลงเพาะปลูก เช่น น้ำจากห้องสุขา น้ำทิ้งต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน และ เกษตรกรร้อยละ 29.6 มีการตรวจวิเคราะห์น้ำก่อนนำมาใช้ ด้านการจัดการศัตรูพืช พบการระบาดของด้วงแรด มากเป็นอันดับหนึ่ง และเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ด้านการดูแลสุขลักษณะ เกษตรกรส่วนใหญ่มีอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ด้านการจัดการผลผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.3 มีผู้ซื้อมาตัด ผลผลิตมะพร้าวเองในสวนโดยผู้รับซื้อจะเป็นผู้คัดขนาดของมะพร้าวทั้งหมด ด้านการบันทึกข้อมูล เกษตรกร ส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.6 มีการจดบันทึกปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยว 3) สภาพปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ด้านการ จำหน่ายผลผลิต และเกษตรกรต้องการให้มีมาตรฐานสินค้าเกษตร ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ ควรมีการ กำหนดมาตรฐานการขายผลผลิตมะพร้าวผลสด 4) ความสอดคล้องของการจัดการสวนมะพร้าวกับแนวทางของ ระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่มีการตรวจวิเคราะห์ดินและน้ำก่อนนำมาใช้ เกษตรกรบางคนยังไม่รู้จักชนิดของศัตรูมะพร้าว ไม่มีการจัดทำป้ายแสดงข้อมูลอุปกรณ์และสารเคมีอย่างชัดเจน และไม่มีการจดบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11093
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons