กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11102
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting to new theory farming of agriculture by farmers in Mueang District Roiet Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
ขวัญตา มูลชารี, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
คำสำคัญ: โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรกร--ไทย--ร้อยเอ็ด--การตัดสินใจ.
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ในอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 2) สภาพการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร 3) ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ของเกษตรกร 4) ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 5 ประสานสืบสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2561 อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 350 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.5 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการจัดอันดับ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกร มีอายุเฉลี่ย 53.57 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.95 มีจำนวนแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 2.53 คน เกษตรกรทั้งหมดมีการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง เฉลี่ย 11.46 ไร่ มีรายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 46,000 บาท ต่อปี และมีรายได้ต่อปีเฉลี่ย 82,798 บาทต่อปี 2) การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรร้อยละ 98.9 สามารถทำการเลี้ยงปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ ในสระเพื่อบริโภคและสร้างรายได้ ร้อยละ 96.3 มีการจัดสรรพื้นที่ ประมาณร้อยละ 30 เพื่อปลูกข้าว ร้อยละ 94.7 สามารถแบ่งพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในพื้นที่ทำการเกษตร 3) เกษตรกรร้อยละ 61.7 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 21.3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่อยู่ในระดับมาก และร้อยละ 17.0 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่อยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรทุกคน ได้รับความรู้จากการฝึกอบรม ในระดับมาก รองลงมาร้อยละ 83.06 ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และร้อยละ 16.04 ได้รับความรู้จากเพื่อนบ้าน 4) ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ พบว่า รายได้ภาคการเกษตร รายได้ต่อปี จำนวนพื้นที่ถือครองทางการเกษตร มีความสัมพันธ์กับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.6 ประสบปัญหาปัญหาภัยธรรมชาติ รองลงมาคือ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และ โครงการภาครัฐมีน้อยไม่ทั่วถึง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11102
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons