กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11104
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกรในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to farmers’ decision making for industrial sugarcane production in Kao Liao District of Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
ไพรัช เล้าสมบูรณ์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
คำสำคัญ: เกษตรกร--การตัดสินใจ
อ้อย--การปลูก--การตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโรงงาน (2) สภาพทั่วไปและกระบวนการปลูกอ้อยโรงงาน (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ทำการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโรงงานในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ที่ปลูกอ้อยโรงงานในปีการผลิต 2559/60 จำนวน 340 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 184 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโรงงานร้อยละ 57.10 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ยที่ 49.59 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.65 ราย มีประสบการณ์ในการปลูกอ้อยเฉลี่ย 12.09 ปี มีแรงในการผลิตในครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.05 ราย มีแรงงานจ้างในการผลิตอ้อยเฉลี่ยเท่ากับ 6.27 ราย มีพื้นที่ในการปลูกอ้อยเฉลี่ย 23.52 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกอ้อยของตนเองเฉลี่ย 18.15 ไร่ และมีพื้นที่เช่าในการปลูกอ้อยเฉลี่ย 20.12 ไร่ มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตเฉลี่ย 10,670.63 บาท/ไร่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 6,272.03 บาท/ไร่ และมีผลกำไรจากการจำหน่ายผลผลิตเฉลี่ย 4,393,.16 บาท/ไร่ (2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกอ้อยโรงงานในช่วงต้นฤดูฝน มีการไล่เตรียมดินก่อนปลูกเฉลี่ย 2.90 ครั้ง ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 โดยพบว่าร้อยละ 52.17 เป็นอ้อยตอ 2 มีอายุการไว้ตอเฉลียเท่ากับ 3.10 ปี ซึ่งเกษตรกรเกือบทุกคนได้ใช้เครื่องปลูกในการปลูกอ้อย ได้อาศัยน้ำฝนในการปลูกอ้อย เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดวัชพืช แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่พบโรคระบาดในไร่อ้อย แต่พบแมลงศัตรูพืชคือ หนอนกอ เกษตรกรหนึ่งในสามมีการจ้างทั้งแรงงานคนและเครื่องเก็บเกี่ยว และเกษตรกรเกินครึ่งไม่มีการเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว (3) ระดับความสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านการผลิต ด้านความสะดวกในการขนส่งผลผลิต และด้านการตลาดและจำหน่ายผลผลิตที่มีระดับความสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงานในระดับมากตามลำดับ (4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาด้านการขนส่ง และปัญหาด้านการตลาดและจำหน่ายผลผลิตอยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะด้านการตลาดและจำหน่ายผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11104
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons