กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11105
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ในการผลิตลำไยนอกฤดู จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines of large agricultural land plot for off-season longan production in Sa Kaeo Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พลสราญ สราญรมย์ บุหงา จินดาวานิชสกุล, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
คำสำคัญ: | ลำไย--การผลิต |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) การปฏิบัติตามการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ 3) ความต้องการการดำเนินงานตามการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ 5) แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ลำไยนอกฤดูจังหวัดสระแก้ว ปี 2560 จำนวน 95 คน เก็บข้อมูลทั้งหมดไม่มีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย 2) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวน 7 คน ประธานกลุ่ม และคณะกรรมการกลุ่มแปลงใหญ่ จำนวน 6 คน คณะกรรมการสมาชิกชาวสวนลำไย 10 คน คัดเลือกขนาดกลุ่มตัวอย่างและสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จัดเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.60 ปี จบประถมศึกษา เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประสบการณ์การปลูกลำไยเฉลี่ย 7.97 ปี ทุกคนเคยได้รับการฝึกอบรม สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.20 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.25 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 1.27 คน พื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 9.36 ไร่ เฮกสารสิทธิ์ที่เข้าร่วมเป็นส.ป.ก.4-01 และเป็นของตนเอง ต้นทุนการผลิต 7,373.68 บาท ร้อยละ 42.1 รับเงินทุนจากทั้งพ่อค้า(ล้ง) และ ธ.ก.ส. ผลผลิตเฉลี่ย 1.17 ตันต่อไร่ ราคาขายเฉลี่ย 25.48 บาท และรายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 257,052.63 บาท (2) เกษตรกรได้รับรู้ข่าวสารจากเกษตรตำบลระดับมาก และความเข้าใจน้อยที่สุด คือ การนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาร่วมในการผลิต (3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการเกษตรในระดับมาก โดยมีความต้องการระดับมากที่สุด 3 ประเด็น ได้แก่ ความต้องการการผลิตสำไยคุณภาพมาตรฐาน GAP ความต้องการการฝึกอบรม และความต้องการการสนับสนุนปัจจัยการผลิต (4) เกษตรกรมีปัญหาระดับปานกลาง 2 ประเด็น ได้แก่ ความเข้มแข็งของกลุ่มแปลงใหญ่ และความรู้และประสบการณ์การผลิตลำไยนอกฤดู (5) แนวทางการส่งเสริม ได้แก่ การส่งเสริมเกษตรกรในรูปแบบฝึกอบรมการผลิตลำไยคุณภาพมาตรฐาน GAP ร่วมกับการเยี่ยมเยียนในพื้นที่ส่งเสริมการจัดทำแปลงเรียนรู้โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิต การส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการบริหารจัดการร่วมกันเพื่อการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพผลผลิตสู่มาตรฐานสอดกล้องความต้องการตลาด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11105 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License