กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11106
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs of organic Fertilizer utilization in Para rubber production of farmers in Ra-ngae District of Narathiwat Province /
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ
สุพรรณบัฐ ทวีธรรม, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุนันท์ สีสังข์
คำสำคัญ: ยางพารา--การผลิต
ปุ๋ยอินทรีย์
เกษตรกร--ไทย--นราธิวาส
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตยางพารา (3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตยางพารา (4) ความต้องการการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตยางพารา (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตยางพาราของเกษตรกร ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 7 ตำบล ประชากรทั้งสิ้น 5,081 ราย คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 151 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.64 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร ประสบการณ์ในการผลิตยางพาราเฉลี่ย 16.67 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.05 คน จำนวนแรงงานจ้างเฉลี่ยครัวเรือนละ 1.99 คน มีพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมดเฉลี่ย 10.44 ไร่ เกษตรกรมีรายได้และรายจ่ายจากการผลิตยางพาราเฉลี่ย 125,415.20 และ 24,308.61 บาท ตามลำดับ ระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์จากแหล่งต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง โดยสื่อบุคคลอยู่ในระดับมากจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (2) เกษตรกรเพียงหนึ่งในสี่ใช้ปุ๋ยคอก โดยซื้อมูลโคจากเกษตรกรด้วยกันมาใช้ ใช้โรยปุ๋ยเป็นแถว และใช้รองก้นหลุม อัตราเฉลี่ยหลุมละ 395.83 กรัม เกษตรกรส่วนน้อยใช้ปุ๋ยคอก ก่อน-หลัง เปิดกรีด เฉลี่ยต้นละ 1.54 และ 1.73 กิโลกรัม ตามลำดับ และเกษตรกรเพียงหนึ่งในหกใช้ปุ๋ยหมักผลิตไว้ใช้เอง โดยหว่านทั่วแปลง และรองก้นหลุม อัตราเฉลี่ยหลุมละ 558.33 กิโลกรัม (3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตยางพารา ในระดับปานกลาง (4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตยางพาราในภาพรวมระดับปานกลาง และระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนและบริการในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และเนื้อหาในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ตามลำดับ ส่วนด้านวิธีการส่งเสริมมีความต้องการในภาพรวมระดับปานกลาง และระดับมาก 3 วิธีการ ได้แก่ การส่งเสริมแบบกลุ่มการส่งเสริมแบบกิจกรรม และการส่งเสริมแบบรายบุคคล ตามลำดับ (5) เกษตรกรมีปัญหาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในภาพรวมระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมการผลิต และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตามลำดับ ข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนควรมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิต และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนแก่เกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11106
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons