Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11141
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวิมลทิพย์ พวงเข้ม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสมพร รอดจินดา, 2503--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-18T06:50:33Z-
dc.date.available2024-01-18T06:50:33Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11141-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ โดย 1) สัมภาษณ์เชิงลึกทีมสหวิชาชีพ จำนวน 20 คน ได้แก่ แพทย์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี พยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้าหอผู้ป่วย และระดับปฏิบัติการ ผู้ช่วยพยาบาล และพนักงานช่วยเหลือคนไข้ และ 2) สนทนากลุ่มผู้พัฒนาและใช้รูปแบบ จำนวน 8 คน ได้แก่ อายุรแพทย์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี พยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยและระดับปฏิบัติการ เพื่อร่วมกันยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดที่ผู้วิจัยสรุปจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบและนำสู่การปฏิบัติ โดยสนทนากลุ่มผู้พัฒนาและใช้รูปแบบ 9 คน จำนวน 2 ครั้ง พิจารณาร่วมกันจนได้รูปแบบที่ผู้ใช้เห็นพ้องกัน และนำรูปแบบไปทดลองใช้ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม เป็นเวลา 3 เดือน ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยเปรียบเทียบผลการดูแลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ ได้แก่ 1) จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อกระแสเลือดและได้รับการรักษาก่อนเกิดภาวะช็อก 2) จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และ 3) จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดย ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สถิติไคสแควร์ การทดสอบแมนวิทนี ยู วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด ได้แก่ ระยะเวลาในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อกระแสเลือด การเผยแพร่แนวทางการดูแลแก่บุคลากรทุกระดับอย่างทั่วถึง การสื่อสารระหว่างทีมสหวิชาชีพ และการกำกับติดตามการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของทีมสหวิชาชีพ ระยะที่ 2 รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด ได้แก่ 1) การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยให้คัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็ว 2) การบริหารอัตรากำลังทีมพยาบาลในหอผู้ป่วยแบบผสานอัตรากำลัง 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดแก่ทีมสหวิชาชีพ 4) การจัดทำคู่มือเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาล และ 5) การกำหนดให้มีระบบติดตาม กำกับ การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยของทีมสหวิชาชีพ ระยะที่ 3 หลังการใช้รูปแบบ 3 เดือน พบว่า จำนวนผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อและได้รับการรักษาก่อนเกิดภาวะช็อก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (X2 = 13.017, p<0.05) จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อค และเสียชีวิต จากการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (X2 = 10.80, X2 = 1.92, p<0.05)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectเลือดติดเชื้อ--ผู้ป่วย--การดูแลth_TH
dc.subjectแบบจำลองทางการพยาบาลth_TH
dc.subjectการพยาบาลอายุรศาสตร์th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลน่านth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of caring model for sepsis patients in the medical wards, Nan Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop the process of Caring Model for patients with sepsis and evaluate the outcomes of Caring Model development in Medical Wards : Nan Hospital . The research process was divided into 3 phases: 1) situation analysis and study factor relate to Caring Model for patients with sepsis by indept interview with 20 person multidisciplinary team : 2 medical physician, 2 internship, 3 head nurse, a nurse case manager,4 professional nurse, 4 practical nurse and 4 nurse aid . Focus group discussion with multidisciplinary team : medical physician and professional nurse 2) developing of the Caring Model by using two focus group discussion . After receiving the consensus from multidisciplinary team.The new model was implement at Medical Wards , 3) outcomes evaluation and comparing the result of the developing of Caring Model. The data was analyzed using percentage, mean, Chi- Square, Mann-Whitney U Test and content analysis. According to the research finding, in the first stage: the limitation were the delay in sepsis diagnosis 2) The dissemination and communications concerning sepsis guideline policy fail to cover staffs at every level, inadequate guideline monitoring. The second phase, the Caring Model development which included using of screening tools for early detection of sepsis especially in the high risk groups, the nursing staff mix management, revising and modifying sepsis guideline and a workshop was held for staffs to put it into practice, monitoring and meeting regularly. The comparison of results in developing and implementing a Caring Model for sepsis patients demonstrated that the early detection of sepsis was significantly increased from 46.7% to 90% ((2=13.017 ค่า p =.000) The complication rate associated with sepsis shock was significantly decreased from 86.7% to 46.7% ((2=10.80 ค่า p =.001).And the death rate from sepsis decreased from 23.3% to 10% (2=1.920 ค่า p =.166). Keywords:en_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons