กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11141
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of caring model for sepsis patients in the medical wards, Nan Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิมลทิพย์ พวงเข้ม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมพร รอดจินดา, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: เลือดติดเชื้อ--ผู้ป่วย--การดูแล
แบบจำลองทางการพยาบาล
การพยาบาลอายุรศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ โดย 1) สัมภาษณ์เชิงลึกทีมสหวิชาชีพ จำนวน 20 คน ได้แก่ แพทย์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี พยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้าหอผู้ป่วย และระดับปฏิบัติการ ผู้ช่วยพยาบาล และพนักงานช่วยเหลือคนไข้ และ 2) สนทนากลุ่มผู้พัฒนาและใช้รูปแบบ จำนวน 8 คน ได้แก่ อายุรแพทย์ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี พยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยและระดับปฏิบัติการ เพื่อร่วมกันยืนยันปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดที่ผู้วิจัยสรุปจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบและนำสู่การปฏิบัติ โดยสนทนากลุ่มผู้พัฒนาและใช้รูปแบบ 9 คน จำนวน 2 ครั้ง พิจารณาร่วมกันจนได้รูปแบบที่ผู้ใช้เห็นพ้องกัน และนำรูปแบบไปทดลองใช้ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม เป็นเวลา 3 เดือน ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยเปรียบเทียบผลการดูแลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ ได้แก่ 1) จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อกระแสเลือดและได้รับการรักษาก่อนเกิดภาวะช็อก 2) จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และ 3) จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อกระแสเลือด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดย ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สถิติไคสแควร์ การทดสอบแมนวิทนี ยู วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด ได้แก่ ระยะเวลาในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อกระแสเลือด การเผยแพร่แนวทางการดูแลแก่บุคลากรทุกระดับอย่างทั่วถึง การสื่อสารระหว่างทีมสหวิชาชีพ และการกำกับติดตามการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของทีมสหวิชาชีพ ระยะที่ 2 รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด ได้แก่ 1) การใช้เครื่องมือเพื่อช่วยให้คัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็ว 2) การบริหารอัตรากำลังทีมพยาบาลในหอผู้ป่วยแบบผสานอัตรากำลัง 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดแก่ทีมสหวิชาชีพ 4) การจัดทำคู่มือเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาล และ 5) การกำหนดให้มีระบบติดตาม กำกับ การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยของทีมสหวิชาชีพ ระยะที่ 3 หลังการใช้รูปแบบ 3 เดือน พบว่า จำนวนผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อและได้รับการรักษาก่อนเกิดภาวะช็อก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (X2 = 13.017, p<0.05) จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อค และเสียชีวิต จากการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (X2 = 10.80, X2 = 1.92, p<0.05)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11141
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons