Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11155
Title: ความต้องการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
Other Titles: Extension needs of farmers for quality longan production in Mueang District, Lamphun Province
Authors: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสฏฐวุฒิ มิ่งมงคลศศิธร, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ลำไย--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ลำพูน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิตลำไยคุณภาพ (3) ความรู้การผลิตลำไยคุณภาพ (4) ความต้องการของเกษตรกรในการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกร ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกลำไยในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2561 จำนวนทั้งสิ้น 3,826 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน จำนวน 194 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 75.3 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.90 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.14 คน และมีรายได้จากอาชีพหลักของครัวเรือนต่อปี เฉลี่ย 69,814.32 บาท มีรายได้จากอาชีพรองของครัวเรือนต่อปี เฉลี่ย 67,221.12 บาท มีจำนวนแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.13 คน มีรายจ่ายของครัวเรือนต่อปี เฉลี่ย 179,814.13 บาท (2) สภาพการผลิตลำไยคุณภาพ พบว่า เกษตรกรมีขนาดพื้นที่ปลูกลำไย เฉลี่ย 3.51 ไร่ ลักษณะดินที่ปลูกลำไย คือ ดินร่วน มีระยะปลูกลำไย 6 x 6 เมตร ส่วนใหญ่ปลูกลำไยพันธุ์อีดอ มีผลผลิตลำไยต่อไร่ เฉลี่ย 1,068.11 กิโลกรัม มีการตัดแต่งกิ่งลำไยทรงเปิดกลางพุ่ม ราคาจำหน่ายลำไย เฉลี่ย 18.51 บาทต่อกิโลกรัม และ มีประสบการณ์การผลิตลำไย เฉลี่ย 13.81 ปี (3) เกษตรกรมีความรู้ด้านการผลิตลำไยคุณภาพเรื่องการบังคับการออกดอก การคัดเลือกพันธุ์ และการให้นํ้า (4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตลำไยเกี่ยวกับด้านการตลาดโดยให้สื่ออินเตอร์เน็ต (5) เกษตรกรมีปัญหาด้านต้นทุนการผลิตสูงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านปุ๋ยเคมี ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้มีการลดต้นทุนการผลิต โดยการใช้สารชีวภัณฑ์ การใช้ปุ๋ยหมัก ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และการรวมกลุ่มเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11155
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons