Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11160
Title: แนวทางการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรในเขตเทศบาลตำบลแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Extension guidelines for herb production in Mae Chaem Subdistrict Municipality, Mae Chaem District, Chiang Mai Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สำเริง แสนสุวงศ์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: พืชสมุนไพร--การปลูก--ไทย--เชียงใหม่
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--เชียงใหม่
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตพืชสมุนไพร 3) ความต้องการประเด็นการส่งเสริมและวิธีการส่งเสริม 4) ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพร และ 5) ความคิดเห็นต่อแนวทางการส่งเสริมการผลิตสมุนไพร โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้ปลูกพืชสมุนไพรในเขตเทศบาลตำบลแม่แจ่ม 1,567 ราย ใช้สูตร Taro Yamane ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.08 ขนาดตัวอย่าง 142 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 56.00 ปี ร้อยละ 55.6 เป็นหญิง ร้อยละ 38.7 จบมัธยมศึกษาตอนปลาย มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.75 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.40 คน ร้อยละ 78.2 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ร้อยละ 97.9 เป็นเจ้าของที่ดิน ร้อยละ 80.3 เช่าที่ดิน ร้อยละ 99.3 ปลูกพืชสมุนไพรร่วมกับพืชอื่น มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 97,542.00 บาทต่อปี มีหนี้สินในภาคการเกษตรเฉลี่ย 18,726.00 บาทต่อปี 2) เกษตรกรปลูกพืชสมุนไพรเฉลี่ย 1.33 ไร่ ร้อยละ 87.3 แปรรูปโดยวิธีทำแห้ง และร้อยละ 69.7 ไม่เคยทำกิจกรรมการตลาด เช่น การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ 3) เกษตรกรมีความต้องการประเด็นการส่งเสริมในระดับมาก ด้านการตลาด การปลูก และการแปรรูปพืชสมุนไพร และมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมในระดับมาก ได้แก่ การส่งเสริมแบบกลุ่ม มวลชน และรายบุคคล 4) เกษตรกรมีปัญหาในระดับมากด้านการแปรรูป การตลาด และการปลูกพืชสมุนไพร 5) เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพรประเด็นการส่งเสริมในระดับมากด้านการปลูก การแปรรูป และการตลาดพืชสมุนไพร และเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตสมุนไพรด้านวิธีการส่งเสริมในระดับมาก ได้แก่ การส่งเสริมแบบกลุ่ม มวลชน และรายบุคคล โดยสรุป แนวทางการส่ง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11160
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons