Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11170
Title: ดุลยภาพอุปทานอุปสงค์ของข้าวโพดในประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางอาหารและคุณค่าทางโภชนาการ
Other Titles: Corn supply and demand equilibrium of Thailand for food security and nutritional value
Authors: สุนันท์ สีสังข์
วิชัยพิชญ์ อารยาทรัพย์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ
Keywords: ข้าวโพด--การผลิต
ความมั่นคงทางอาหาร--ไทย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์อุปสงค์อุปทานของข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฐานะอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสร้างดุลยภาพและความมั่นคงทางอาหาร และ (2) ศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการผู้บริโภคข้าวโพดหวาน การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาสองรูปแบบตามวัตถุประสงค์ การวิจัยส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้เศรษฐมิติเป็นครื่องมือในการวิจัย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลารายไตรมาส ตั้งแต่ปี 2545-2560 ได้แก่ ราคาข้าวโพด ปริมาณนำเข้าและส่งออก ราคากากถั่วเหลือง (สินค้าทดแทน) รายได้ของประชาชน และต้นทุนในการผลิต กรวิจัยส่วนที่สอง เป็นการวิจัยแบบสำรวจ เพื่อเปรียบเทียบความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคข้าวโพดระหว่างผู้อาศัยในพื้นที่เมืองและชนบท โดยใช้แบบสอบถาม เก็บจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 ราย แบบหลายขั้นตอนและแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้ที่ประกอบอาชีพในกรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณา การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษา พบว่า (1) อุปสงค์ข้าวโพดหวานมีความสัมพันธ์กับราคาข้าวโพดหวานและจำนวนประชากรไทย โดยคาดการณ์ ได้ว่าในปี 2565 จะมีอุปสงค์ข้าวโพดหวานจำนวน 484,361 ตัน อุปสงค์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคากากถั่วเหลือง รายได้ และจำนวนปศุตว์ คาดการณ์ได้ว่าในปี 2565 จะมีอุปสงค์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นเป็น 8,584,537 ตัน (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้คะแนนความรู้ในระดับปานกลาง เจตคติอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด โคยผู้ที่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมามีค่าเฉลี่ยของเจตคติสูงที่สุด ด้านพฤติกรรมพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เลือกซื้อข้าวโพดจากตลาดนัดมากที่สุด รับประทานข้าวโพดเพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพละรสชาติ โดยผู้ตอบเบบสอบถาม ร้อยละ 44.67 จะบริโภคข้าวโพดเพิ่มขึ้น หากมีการจำหน่ายที่เพียงพอและสะดวกในการซื้อ นอกจากนี้ จากการศึกษานี้พบว่าควรมีการวิเคราะห์อุปสงค์อุปทานของพืชอาหารชนิตอื่น และควรให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้มีการปลูกข้าวโพดหวานมากขึ้นเพื่อพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11170
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons