กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11184
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorดวงเดือน สุวรรณจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศศิกานต์ นิ่มดำ, 2533--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-19T04:08:26Z-
dc.date.available2024-01-19T04:08:26Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11184-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคนิคการเขียนทางวิทยาศาสตร์ (SWH) เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบดังกล่าวระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) ศึกษาระดับความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนพะโต๊ะวิทยา จังหวัดชุมพร จำนวน 31 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการเขียนทางวิทยาศาสตร์ (SWH) (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ (3) แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) นักเรียนดังกล่าวที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้ร่วมกับการใช้เทคนิคการเขียนทางวิทยาศาสตร์ (SWH) เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 (2) นักเรียนดังกล่าวมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนดังกล่าวมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับดีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้th_TH
dc.subjectวิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--ชุมพรth_TH
dc.titleผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เทคนิคการเขียนทางวิทยาศาสตร์ (SWH) เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสหวิทยาเขตชุมพร 2 จังหวัดชุมพรth_TH
dc.title.alternativeThe effects of inquiry learning management together with science writing heuristic technique in the topic of Chemical Reaction Rate on science learning achievement and scientific explanation ability of Mathayom Suksa V students of Chumphon Consortium 2 small sized schools in Chumphon Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1 ) to compare the post-learning science learning achievement of Mathayom Suksa V students, who learned under the inquiry learning management together with science writing heuristic technique in the topic of Chemical Reaction Rate, against the 7 0 percent of full score criterion; (2 ) compare the pre-learning and post-learning scientific explanation abilities of Mathayom Suksa V students who learned under the above-mentioned learning management; and (3 ) to study the level of scientific explanation ability of Mathayom Suksa V students who learned under the above-mentioned learning management. The research sample consisted of 31 Mathayom Suksa V students studying in the second semester of academic year 2 0 1 8 at Phatowittaya School in Chumphon province, obtained by cluster random sampling. The research instruments included (1) learning management plans for inquiry learning management together with science writing heuristic technique; (2) a science learning achievement test; and (3) a scale to assess scientific explanation ability. The collected data was analyzed with the use of percentage, mean, standard deviation, t-test, and content analysis. The research results showed that (1 ) the post-learning science learning achievement in the topic of Chemical Reaction Rate of the students, who learned under the inquiry learning management together with science writing heuristic technique, was significantly higher than the 70 percent of full score criterion at the .05 level of statistical significance; (2) the post-learning scientific explanation ability of the students was significantly higher than their pre-learning counterpart ability at the .05 level of statistical significance; and (3 ) the post-learning scientific explanation ability of the students was at the good level.en_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons