กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11185
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตมะยงชิดเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของเกษตรกรในจังหวัดนครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: การส่งเสริมการผลิตมะยงชิดเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของเกษตรกรในจังหวัดนครนายก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาวรรณ สว่างเวียง, 2523 -
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การส่งเสริมการเกษตร
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
มะยงชิด -- การผลิต -- ไทย -- นครนายก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร -- วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการผลิตของเกษตรกร 2) ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าสู่มาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มะยงชิดนครนายก 3) ความต้องการ การส่งเสริมการผลิตมะยงชิดเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มะยงชิดนครนายก 4) ปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะยงชิดเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มะยงชิดนครนายกประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ปลูกมะยงชิดในจังหวัดนครนายก จำนวน 2,110 ราย คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ จำนวน 186 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 61.49 ปี มีพื้นที่ปลูกมะยงชิดเฉลี่ย 4.01 ไร่ รายได้จากการขายมะยงชิดเฉลี่ย 44,564.52 บาท/ปี รายจ่ายในการผลิตมะยงชิดเฉลี่ย 13,548.39 บาท/ปี และส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตเองในสวน 2) ความรู้เกี่ยวกับการเข้าสู่มาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มะยงชิดนครนายกมีการวัดผลระดับความรู้ พบว่า เกษตรมีความรู้น้อยใน 3 ประเด็น คือ (1)การผลิตมะยงชิดตามมาตรฐาน GI บนฉลากหรือหีบห่อต้องระบุ ชื่อสวน/เกษตรกร ที่อยู่ที่ติดต่อได้ (2) การผลิตมะยงชิดตามมาตรฐาน GI บนฉลากหรือหีบห่อต้องมีคำว่า "มะยงชิดนครนายก" และ (3)การผลิตมะยงชิดในที่ราบหรือที่ดอนตามมาตรฐานGI ต้องใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 8 x 8 เมตร 3) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าสู่มาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มะยงชิดนครนายก ระดับมากที่สุด 1 ประเด็นในเรื่องสัญลักษณ์ GI เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยในการประชาสัมพันธ์สินค้านั้นให้เป็นที่รู้จัก 4) เกษตรกรมีความต้องการด้านเนื้อหาด้านการส่งเสริมการเกษตร ระดับมากที่สุด ในประเด็นด้านการขอรับรองสินค้า GI เรื่อง ความรู้ในเรื่องมาตรฐานสินค้า GI มะยงชิดนครนายกและขั้นตอนการรับรอง GI มะยงชิดนครนายก ด้านบุคลากรด้านการส่งเสริมการเกษตร ระดับมาก ในเรื่อง ต้องการรับการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมจากภาครัฐ ด้านวิธีการส่งเสริมการเกษตร ระดับมาก ในเรื่อง วิธีการส่งเสริมการเกษตรแบบกลุ่ม โดยวิธีการฝึกอบรม 5) เกษตรกรมีปัญหา ระดับปานกลาง 1 ประเด็น คือ ด้านการผลิต ในเรื่องใช้เวลานานกว่าจะมีรายได้ และโรคแมลงเข้าทำลายผลผลิต 6) แนวทางการส่งเสริมการผลิตมะยงชิด ได้แก่ การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะยงชิดตามมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มะยงชิดนครนายก สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งปัจจัยการผลิตที่ได้คุณภาพและราคาถูก วิธีการส่งเสริมการเกษตร แบบรายบุคคล เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานสามารถให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรได้ แบบกลุ่ม จัดอบรมถ่ายทอดความรู้และจัดทำแปลงสาธิต/แปลงเรียนรู้/เกษตรกรต้นแบบ แบบมวลชน จัดนิทรรศการให้ความรู้.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11185
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
169133.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons