Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11230
Title: ภาวะผู้นำเซิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Innovative leadership of school administrators in primary schools under Local Administrative Organization, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: โสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิรีวิว พูลสวัสดิ์, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: ภาวะผู้นำทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราชในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง ด้านการคิดสร้างสรรค์ ด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม และด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์กรนวัตกรรม 2) ผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันมีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดขนาดใหญ่พิเศษ และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาควร (1) เรียนรู้และปรับมุมมองของตนเองให้มีวิสัยทัศน์แบบนวัตกรเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูและบุคลากร (2) เตรียมพร้อม ยอมรับและปรับตัวให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับยุคดิจิทัล (3) พัฒนาตนเองโดยเรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาสถานศึกษากับสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลหรือเป็นต้นแบบ (4) พัฒนาตนเองให้เป็นนักสื่อสารที่ดีตามหลักกัลยาณมิตร (5) เรียนรู้และพัฒนาความคิดเพื่อสร้างกระบวนการบริหารรูปแบบใหม่ (6) แสวงหาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อหาและจัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา และ (7) พัฒนาทักษะการนิเทศอย่างต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11230
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons