Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11244
Title: ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
Other Titles: Innovative leadership of school administrators under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 3
Authors: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
โศรยา คงตุก, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: ภาวะผู้นำทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การบริหารความเสี่ยง การสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในเป้าหมายด้านนวัตกรรม และการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ที่มุ่งสู่นวัตกรรมตามลำดับ และ (2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีดังต่อไปนี้ (2.1) ควรพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสร้างนวัตกรรมโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้มีการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ที่มุ่งสู่นวัตกรรม (2.2) ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอและเหมาะสมกับการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน (2.3) ควรกำหนดแนวทางการสร้างทีมงาน การมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญกับการใช้กระบวนการการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้กับครู (2.4) ควรพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์อย่างสม่ำเสมอ จัดสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา นำปัญหาของสถานศึกษามาแลกเปลี่ยนเพื่อการสร้างนวัตกรรมสำหรับแก้ปัญหา (2.5) ควรจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกในการสร้างนวัตกรรมให้กับครู ยกย่องหรือให้รางวัลแก่ครูที่มีผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่น และ (2.6) ควรวางแผนการทำงานที่ชัดเจน ใส่ใจในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนำนวัตกรรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11244
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons