Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11256
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ สีระสารth_TH
dc.contributor.authorนันทภรณ์ แช่มตา, 2528-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-24T07:29:37Z-
dc.date.available2024-01-24T07:29:37Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11256en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการตลาดชมพู่ทับทิมจันทร์ของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดชมพู่ทับทิมจันทร์ของเกษตรกรของเกษตรกร และ 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดชมพู่ทับทิมจันทร์ของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์จังหวัดกาญจนบุรี ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 351 ครัวเรือน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.38 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.70 คน มีประสบการณ์ในการปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์เฉลี่ย 12.65 ปี มีพื้นที่ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์เฉลี่ย 3.54 ไร่ รายได้จากการจำหน่ายชมพู่ทับทิมจันทร์ เฉลี่ย 172,764.71 บาท รายจ่ายในการผลิตชมพู่ทับทิมจันทร์ เฉลี่ย 65,836.36 บาท และมีหนี้สินเฉลี่ย 68,280.43 บาท 2) เกษตรกรมีระดับความรู้เกี่ยวกับการผลิต ด้านการปลูก และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และด้านการตลาดโดยมีการการเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ 3) เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตคือการไม่รวมกลุ่มกันผลิต และด้านการตลาดโดยการกดราคาของพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรไม่มีอำนาจในการต่อรองราคาหรือกำหนดราคาได้เอง ข้อเสนอแนะควรเพิ่มความรู้ในด้านการผลิตให้ได้คุณภาพโดยเพิ่มช่องทางการตลาดและประสานความร่วมมือกับเอกชน และ4) เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมด้านการผลิตในเรื่องโรคและแมลง และความต้องการด้านการสนับสนุนปัจจัยการผลิตสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ย ด้านการตลาดโดยการช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้รู้จักชมพู่ทับทิมจันทร์เพิ่มมากขึ้น.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectผลไม้--การตลาดth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย--กาญจนบุรีth_TH
dc.titleการส่งเสริมการผลิตและการตลาดชมพู่ทับทิมจันทร์ของเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรีth_TH
dc.title.alternativeExtension of Tubtimchan rose apples production and marketing by farmers in Kanchanaburi Provinceen_US
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.contributor.coadvisorริชาติ ดิษฐกิจth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169161.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons