กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11256
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตและการตลาดชมพู่ทับทิมจันทร์ของเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of Tubtimchan rose apples production and marketing by farmers in Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันทภรณ์ แช่มตา, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ผลไม้ -- การตลาด
การส่งเสริมการเกษตร -- ไทย -- กาญจนบุรี
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการตลาดชมพู่ทับทิมจันทร์ของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดชมพู่ทับทิมจันทร์ของเกษตรกรของเกษตรกร และ 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดชมพู่ทับทิมจันทร์ของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์จังหวัดกาญจนบุรี ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 351 ครัวเรือน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.38 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.70 คน มีประสบการณ์ในการปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์เฉลี่ย 12.65 ปี มีพื้นที่ปลูกชมพู่ทับทิมจันทร์เฉลี่ย 3.54 ไร่ รายได้จากการจำหน่ายชมพู่ทับทิมจันทร์ เฉลี่ย 172,764.71 บาท รายจ่ายในการผลิตชมพู่ทับทิมจันทร์ เฉลี่ย 65,836.36 บาท และมีหนี้สินเฉลี่ย 68,280.43 บาท 2) เกษตรกรมีระดับความรู้เกี่ยวกับการผลิต ด้านการปลูก และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และด้านการตลาดโดยมีการการเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ 3) เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตคือการไม่รวมกลุ่มกันผลิต และด้านการตลาดโดยการกดราคาของพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรไม่มีอำนาจในการต่อรองราคาหรือกำหนดราคาได้เอง ข้อเสนอแนะควรเพิ่มความรู้ในด้านการผลิตให้ได้คุณภาพโดยเพิ่มช่องทางการตลาดและประสานความร่วมมือกับเอกชน และ4) เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมด้านการผลิตในเรื่องโรคและแมลง และความต้องการด้านการสนับสนุนปัจจัยการผลิตสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ย ด้านการตลาดโดยการช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้รู้จักชมพู่ทับทิมจันทร์เพิ่มมากขึ้น.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11256
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
169161.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons